Request sample
Articles Tagged with

Circular Economy

Home / Circular Economy
News

เยี่ยมโรงงาน : “มันสำปะหลัง” พืชไม่มี Waste แถมขึ้นแท่น Texture Solution ภายใต้ BCG MODEL

ขอขอบคุณ sdperspectives ที่ให้เกียรติเข้าเยี่ยมชมและทำข่าว การดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ BCG ของโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่ง อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ https://www.sdperspectives.com/circular-economy/21383-visit-banpong-tapioca/

10 กันยายน 2566…บริษัท บ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด ได้สะท้อนภาพดังกล่าวข้างต้นภายใต้ BCG MODEL ผ่านรูปแบบการดำเนินงานและเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืนตลอดระยะเวลา 50 ปี ปัจจุบันยกระดับและแก้ปัญหาเนื้อสัมผัส ในอุตสาหกรรมอาหารและไม่ใช่อาหาร มีฐานลูกค้ากระจายอยู่ทั่วโลก

ชัยวุฒิ  สุขสมิทธิ์ กรรมการบริหาร ประสิทธิ์ สุขสมิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ กิตติ สุขสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายซัพพลายเชน นพ.สมิทธิ์ สุขสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายงานนวัตกรรม บริษัทอุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่ง จำกัด หรือ บ้านโป่งทาปิโอก้า ฉายภาพบริษัทครอบครัวมีฐานการผลิตและสำนักงานใหญ่อยู่ที่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันมีพนักงานจำนวน 550 คน ในจำนวนนี้ เป็นพนักงานในส่วนของ R&D ประมาณ 45 คน มีโรงงาน 11 แห่งในจังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี มีลูกค้ากว่า 200 ราย กระจายอยู่ใน 21 ประเทศทั่วโลก

วันนี้เราอยู่ที่โรงงานแห่งแรกเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ที่ยังสามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมได้อย่างทันยุคทันสมัย

“สิ่งที่บริษัทยึดเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจตลอดครึ่งทศวรรษคือ การคำนึงถึงความอยู่รอดในระยะยาวและเติบโตอย่างมั่นคง ซึ่งจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้นั้น บริษัทจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งการบริหารจัดการที่ดีในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชุมชน สิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบให้คุ้มค่ามากที่สุด ตลอดจนการมองหาโอกาสช่องทางที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่ผลิต”

ประสิทธิ์กล่าวต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของบริษัทจากอดีตถึงปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าเป็น BCG โดยธรรมขาติ

“เมื่อพบว่าแนวปฎิบัติของบริษัทไปสอดคล้องกับการส่งเสริมรณรงค์ BCG Model ของภาครัฐ เท่ากับตอกย้ำความและเพิ่มความเชื่อมั่นให้บริษัทว่า แนวทางปฏิบัติที่ผ่านมาจนยุทธศาสตร์ต่อไปที่บริษัทวางไว้นั้นได้มาถูกทางแล้ว และจะเป็นพื้นฐานที่ทำให้บริษัทเติบโตยั่งยืนในเวทีโลกได้อย่างแน่นอน”

 ณ วันนี้บ้านโป่งทาปิโอก้า ผู้บริหารบริษัทยืนยันว่า เป็นธุรกิจที่เดินตาม BCG Model ได้อย่างครบวงจร

เริ่มจากเศรษฐกิจชีภาพ (Bio Economy) ธุรกิจของบ้านโป่งทาปิโอก้า ก็คือเรื่องของเศรษฐกิจชีวภาพอยู่แล้วเกี่ยวพันทั้งด้านการเกษตรและธุรกิจอาหารจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร บริษัทมีการวิจัยพัฒนาและส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ปลูกมันสายพันธุ์พิเศษเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของมันสำปะหลังและรับซื้อในราคาที่สูงกว่า ท้องตลาด 100%- 150% นอกจากนี้เกษตรกรในเครือข่ายจะได้รับการดูแลจากบริษัท อย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่ การเพาะท่อนพันธุ์ ให้กับเกษตรกรเพื่อ นำไปใช้ในการเพาะปลูก ระหว่างทางก็จะมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยดูและให้คำปรึกษา จนกระทั่งถึงช่วงของการเก็บเกี่ยว ขนส่ง ผลผลิตเข้าสู่โรงงาน

  • บรรยายใต้ภาพ: โรงงานมันสำปะหลังแห่งแรกยังคงทำหน้าที่ 24×7 ภายใต้การดูแลของพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ รวมถึงดูแลแปลงทดลองปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ของบริษัทในโรงงาน

“ปัจจุบันบริษัทส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังสายพันธุ์พิเศษ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต ในสายพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ สายพันธุ์ ลูเซนท์ (LUCENT) ซึ่งจุดเด่นของมันสายพันธุ์พิเศษนี้เมื่อมาบวกกับการวิจัยของบริษัท ทำให้ได้แป้งที่ผลิตออกมามีคุณสมบัติเทียบเท่ากับแป้งจากมันฝรั่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นวัตถุดิบราคาแพง ทุกวันนี้เกษตรกรในเครือข่ายของบริษัทที่มีปะมาณ 2,000 ครอบครัวสามารถขายมันสำปะหลังได้ ประมาณ 20,000-30,000 บาทต่อไร่”

ในมิติของ เศรษฐกิจชีวภาพ   คือการนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาพัฒนา การผลิตของบ้านโป่งทาปิโอก้า นั้นนับว่าเป็นหัวใจของการเติบโตของบริษัทในรอบ 5-6 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องของการขับเคลื่อนงานวิจัยพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ของบริษัทให้เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินกิจการจากโรงงานแปรรูปแป้งแบบเดิมเพื่อก้าวไปเป็น Texture House company เพื่อให้บริการ Texture Solution ที่จะเข้าไปช่วยแก้ Pain Points ทางด้านเนื้อสัมผัส(Texture) โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อาหารทางการแพทย์ กลุ่มอุตสาหกรรมยา และ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหารอย่างอุตสาหกรรมกระดาษ

  • บรรยายใต้ภาพ: ห้อง Lab ในโรงงานแห่งนี้ เป็นที่รับโจทย์จากลูกค้าที่ต้องการ Texture Solution หลากหลายรูปแบบจากโรงงาน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมของลูกค้า เช่นเดียวกับลูกค้าที่เสมือนทาสแมว มักจะหาทรายแมวคุณภาพดีให้ลูกรัก และส่วนใหญ่ก็พบว่าทรายแมวจากมันสำปะหลังคือสิ่งที่แมวชอบ

ทั้งนี้ ผลพลอยได้การดำเนินงานดังกล่าวนอกจากจะเข้ามาช่วยลดภาระของเกษตรกรแล้ว ยังจะช่วยให้บริษัทมีโอกาสได้เข้ามาควบคุมคุณภาพการเพาะปลูกได้โดยตรง ทำให้สามารถวางแผนการผลิตภายในบริษัทได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

“พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้เริ่มมีการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบทางการเกษตร ในกลุ่มธัญพืช เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแป้งที่มีมูลค่าสูง อย่างเช่นถั่วเขียว ถั่วขาว และข้าว เป็นต้น”

มาถึง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หัวมันสำปะหลัง จะประกอบด้วย สามส่วนคือ แป้ง กาก และน้ำ หลังจากที่สกัดนำเอาส่วนของแป้งไปใช้ ส่วนที่เหลือคือ น้ำ กากมันรวมถึงเปลือกมัน ก็คือของเหลือใช้ แต่ในกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลังของบริษัทในทุกวันนี้ ไม่มีส่วนใดที่เหลือทิ้งเลย

  • บรรยายใต้ภาพ: น้ำที่ใช้ขั้นตอนแรกหน้าโรงงาน เป็นน้ำที่ผ่านการบริหารจัดการตามกฎมหายในโรงงาน และนำมา Reuse ในการล้างมันสำปะหลังก่อนจะเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป
“ทุกส่วนของมันสำปะหลังนำมาใช้หมุนเวียนและเพิ่มมูลค่าในระบบเศรษฐกิจภายในชุมชนและบริษัท ซึ่งวิวัฒนาการของการจัดการของเสียจากการผลิตของบริษัทได้มีการจัดการตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงนำนวัตกรรมมาช่วยแปลงสภาพจากของเสียเป็นรายได้”

กากมัน เปลือกมัน และตะกอนดิน ที่ติดมาจากมันสำปะหลัง ในอดีตจะจัดการโดยการนำกลับไปให้เกษตรกรใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน นำไปใช้ในการเพาะเห็ด นำไปหมักกับหญ้าเนเปียร์เพื่อเป็นอาหารสัตว์ แต่ปัจจุบันบริษัทได้ทำ R&D นำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงแมลงสำหรับนำไปสกัดเป็นโปรตีน และยังนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นทรายแมว โดยอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าบริษัทมีแผนที่จะเปิดตัวสินค้าทรายแมวจากกากมันสำปะหลังในชื่อของบริษัทอีกด้วย

  • บรรยายใต้ภาพ: น้ำทุกหยดที่ใช้ในโรงงาน ถูกบริหารจัดการน้ำตามมาตรฐานกฎหมาย และนำกลับมาใช้ในการผลิตอีกครั้ง จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการบำบัดน้ำ และนำน้ำกลับมาใช้ตั้งแต่หน้าโรงงาน โดยไม่มีน้ำเล็ดลอดออกจากโรงงาน
“ในส่วนของน้ำเสียจากกระบวนการล้างมัน และน้ำที่สกัดออกมาจากหัวมัน ที่เป็นปัญหาสำหรับของโรงงานอุตสาหกรรมในยุคแรก บริษัทได้มีการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนจากน้ำเสียมาใช้ใน 2 รูปแบบคือเพื่อให้ได้น้ำที่สะอาดตามมาตรฐานกลับมาใช้ล้างหัวมันต่อไป และอีกส่วนคือผลิตเป็นไบโอแก๊ส หรือ แก๊สชีวภาพไปใช้ทดแทนเชื้อเพลิงพลังงานความร้อนสำหรับอบแป้ง ซึ่งระบบการกำจัดน้ำเสียอย่างครบวงจรของบริษัทนั้นยังสามารถช่วยแก้ปัญหามลภาวะเรื่องกลิ่นตามไปด้วย นอกจากนี้บริษัทยังสามารถจำหน่ายและแบ่งปันจุลินทรีที่เกิดจากกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพของบริษัทกลับคืนมาเป็นเป็นรายได้อีกจำนวนหนึ่ง”

มาถึงตัวสุดท้าย เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และนอกเหนือจากการทำไบโอแก๊สแล้ว บริษัทยังมีนโยบายการใช้พลังงานทดแทน โดยมีการทำโซลาฟาร์มขึ้นบนพื้นที่ของบริษัท ปัจจุบันนำมาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าทดแทนในเวลากลางวันได้ถึง 80% ของพลังงานที่โรงงานต้องใช้ และยังมีนโยบายปลูกต้นไม้ยืนต้นในทุกๆปี บริษัทยังได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวจากกระทรวงอุตสาหกรรม ในระดับ 3 ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะดำเนินงานให้ได้ถึงระดับ 4 ในปี 2567

  • บรรยายใต้ภาพ: ที่โรงงานใช้พลังงานทดแทนตั้งแต่ยุคแรก ใช้น้ำเสีย ผลิตเป็นไบโอแก๊ส ทดแทนเชื้อเพลิงพลังงานความร้อนสำหรับอบแป้ง และปัจจุบันเปิดพิ้นที่โรงงานทำโซล่าร์ ฟาร์มเพื่อผลิตพลังงานทดแทน 80% ใช้ในโรงงาน

ปัจจุบันบ้านโป่งทาโอปิก้า ใช้ปริมาณหัวมันสำปะหลังจากเกษตรกรประมาณ 600,000 ตัน ซึ่งมาจากเกษตรกรในเครือข่ายประมาณ 2 แสนกว่าตัน และมาจากตัวแทนที่ป้อนมันให้กับบริษัทประมาณ 3 แสนกว่าตัน ต้นทุนหัวมันอยู่ที่ประมาณ 3 บาทต่อกิโล บริษัทนำมาแปรรูปเป็นสินค้าใน 4 กลุ่ม

  • กลุ่มที่หนึ่งคือแป้งมันสำปะหลังแบบดั้งเดิม (Native starch) มีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 15% มูลค่าทางการตลาดของแป้งประเภทนี้อยู่ที่ ประมาณ 12 บาทต่อกิโลกรัม
  • กลุ่มที่สอง คือแป้งมันดัดแปรพื้นฐาน (Basic Modified Starch) มีปริมาณการผลิตประมาณ 41% มูลค่าทางการตลาดของแป้งประเภทนี้อยู่ที่ ประมาณ 25 บาทต่อกิโลกรัม
  • กลุ่มที่สาม คือ แป้งดัดแปรมูลค่าสูง (High Value Food Texture Solution) ที่นำไปใช้สำหรับการปรับเปลี่ยนและพัฒนาเนื้อสัมผัสในอาหารและเครื่องดื่ม มีปริมาณการผลิตประมาณ 41% มูลค่าทางการตลาดของแป้งประเภทนี้อยู่ที่ ประมาณ 50 บาทต่อกิโลกรัม
  • กลุ่มที่สี่ คือ แป้งดัดแปรที่นำไปใช้เป็นส่วนผสมของอาหารทางการแพทย์ (Nutrition) ซึ่งมีปริมาณการผลิตประมาณ 3% มูลค่าทางการตลาดของแป้งประเภทนี้อยู่ที่ ประมาณ 100-800 บาทต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับการนำไปทำอาหารทดแทนประเภทไหน

ทิศทางการผลิตของบ้านโป่งทาปิโอก้า คือขยายสัดส่วนการผลิตและการตลาด สินค้าในกลุ่ม High Value Food Texture Solution และ Nutrition ให้เพิ่มมากขึ้น โดยมีเป้าหมายว่าเป็นสินค้าหลักของบริษัทในอนาคต

อาจกล่าวได้ว่า BCG MODEL เป็นพื้นฐานในการดำเนินงานของบ้านโป่งทาปิโอก้าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และยังช่วยผลักดันให้บริษัทสามารถเดินตามแผนยุทธศาสตร์ทีต้องการคือเป็นบริษัทไทยที่ มุ่งสู่การเป็นTexture House Company ให้บริการ Texture Solution ผ่านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อยกระดับและแก้ปัญหาเนื้อสัมผัสในอุตสาหกรรมอาหารและและไม่ใช่อาหาร ได้อย่างยั่งยืนในระดับโลก
About Exponent

Exponent is a modern business theme, that lets you build stunning high performance websites using a fully visual interface. Start with any of the demos below or build one on your own.

Get Started
Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from Youtube
Vimeo
Consent to display content from Vimeo
Google Maps
Consent to display content from Google
Spotify
Consent to display content from Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from Sound
Get a Quote