Request sample
Category

Learning Centre

Home / Learning Centre
Learning Centre

เทคนิคทำข้าวเหนียวมูลให้นุ่มข้ามวัน นำออกจากตู้เย็นหรือช่องแช่แข็งมาอุ่น ยังได้เนื้อสัมผัสเหมือนเพิ่งปรุงเสร็จ

วิธีทำข้าวเหนียวมูนให้นุ่มข้ามวันข้ามคืน และเมื่อนำมาอุ่นหลังแช่เย็นหรือแช่แข็ง ยังมีเนื้อสัมผัสเหมือนเพิ่งปรุงเสร็จ ตัวเม็ดข้าวก็ยังไม่เละหรือเปื่อยยุ่ย เรื่องนี้เป็น Pain Point หรือปัญหา ของพ่อค้าแม่ค้าขายข้าวเหนียวมูลไปจนถึงกลุ่มผู้บริโภคข้าวเหนียวมูลที่มองหาคำตอบมีร่วมกัน

หากเรานำปัญหาข้างต้นไปค้นหาใน google เราก็จะพบข้อมูลมากมายจากหลายๆแหล่งเพื่อให้ข้อแนะนำ การแก้ปัญหาและวิธีการทำข้าวเหนียวมูลให้เก็บไว้ได้นานโดยที่รสชาติและเนื้อสัมผัสไม่เปลี่ยนรวมถึงเคล็ดลับที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำข้าวเหนียวมูลมาแบ่งปันกันมากมาย

แต่วิธีไหนละที่ได้ผลจริงๆ อาจจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหารมาช่วยค้นหาคำตอบนี้ ซึ่งก่อนจะตัดสินใจจะเลือกวิธีไหนที่นำมาปรับใช้แล้วสามารถแก้ปัญหานี้ได้จริงๆนั้น เราก็ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาทำข้าวเหนียวมูลกันก่อน

การทำข้าวเหนียวมูลจะมีวัตถุดิบหลัก 3 อย่างคือ ข้าวเหนียว กะทิ และน้ำตาล

เริ่มที่ข้าวเหนียว วัตถุดิบหลักของข้าวเหนียวมูล โครงสร้างตามธรรมชาติของแป้งข้าวเหนียวหรือเมล็ดข้าวเหนียว จะมี อมิโลเปคติน  (amylopectin)  เป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากการรวมตัวของกลูโคสเป็นโมเลกุลใหญ่มีโครงสร้างเชื่อมต่อกันแบบแยกเป็นกิ่งก้านสาขา เกือบ 100% ดังนั้นข้าวเหนียวเมื่อเย็นตัวลงแล้ว มักจะมีการเปลี่ยนสภาพ จากเหนียวนุ่ม ไปเป็นแข็งกระด้าง และหากทิ้งไว้นานๆสภาพของข้าวเหนียวก็จะมีการเกาะติดกันแน่น และเมื่อทิ้งไว้ค้างคืน เนื้อสัมผัสก็จะแข็งขึ้น เมล็ดข้าวจะเกาะรัดตัวกันแน่นยิ่งขึ้นแทบจะไม่เหลือสัมผัสของความนุ่มละมุนเหมือนตอนนึ่งเสร็จใหม่ๆ และหากนำข้าวเหนียวไปแช่ตู้เย็น สภาพของเม็ดข้าวเหนียวก็จะเกาะตัวติดกันแน่นแข็งเป็นหิน

สำหรับกะทิและน้ำตาลในข้าวเหนียวมูล ไม่เพียงแต่เพื่อชูรสของความหวานมันนัวให้กับข้าวเหนียวมูล ทั้งนี้ไขมันในกะทิ และโมเลกุลของน้ำตาล ยังเป็นส่วนผสมสำคัญที่เข้าไปเคลือบเมล็ดข้าวและแทรกกลางระหว่างเมล็ดข้าวเหนียวของข้าวเหนียวมูลไม่ให้มาเกาะติดและรวมตัวกัน  ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่า ข้าวเหนียวมูลนั้นจะมีความร่วนไม่เกาะติดกันเป็นก้อนเมื่อเย็นตัวลงเหมือนข้าวเหนียวนึ่งปกติที่ไม่ได้ผสมกับอะไร

เมื่อเข้าใจธรรมชาติของข้าวเหนียวแล้วและเข้าใจถึงคุณสมบัติของกะทิและน้ำตาลแล้ว วิธีการที่ทำให้ข้าวเหนียวมูลคงความนุ่มนิ่ม ข้ามวันข้ามคืน หรือในกรณีนำเก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดานานนับอาทิตย์แล้วนำออกมาอุ่นรับประทานก็ยังได้เนื้อสัมผัสเช่นทำเสร็จใหม่ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากสลับซับซ้อนอันใด

ข้อแนะนำวิธีการแรกคือ ใช้กะทิที่มีความเข้มข้นของไขมันในระดับที่สูงมาใช้ในในการทำข้าวเหนียวมูล  แต่จุดอ่อนของวิธีการนี้คือ การที่ต้องใช้น้ำกะทิในปริมาณที่มาก อาจจะทำให้ข้าวเหนียวมูลแฉะมากเกินไป บวกกับด้วยคุณสมบัติของกะทิที่เสียง่ายจะทำให้ข้าวเหนียวมูลเก็บไว้ได้ไม่นาน 

วิธีการที่สอง ใช้กะทิ ควบคู่กับไขมันจากน้ำมันพืช หรือน้ำมันมะพร้าว ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้ลดต้นทุนกะทิ ใช้กะทิน้อยลง และข้าวเหนียวมูลยังสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า ไม่เกิดการคลายตัวของข้าวเหนียวมูลเมื่อนำกลับมาอุ่นหลังผ่านการแช่เย็น ทราบมาว่าร้านข้าวเหนียวร้านเจ้าดังหลายๆเจ้าก็ใช้เทคนิคนี้เป็นเคล็ดลับ

วิธีการที่สามใช้น้ำตาล ซึ่งโมเลกุลของน้ำตาลมีขนาดเล็กสามารถเข้ามาแทรกและเคลือบเมล็ดข้าวช่วยลดการจับตัวของข้าวเหนียวมูลเมื่อเย็นตัวลงหรือนำเข้าตู้เย็น แต่รสชาติของข้าวเหนียวมูลที่ใช้หลักการนี้จะมีรสหวานกว่าทั่วๆไป ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับผู้บริโภคที่ไม่ชอบรสหวานจนเกินไป

บทความโดย :

อาจารย์เชิดศักดิ์ คมนา  ที่ปรึกษาบริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า

พารณ สุขสิทธิ์   R&D บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า

[email protected]

Learning Centre

วิธีแก้ปัญหาเม็ดไข่มุกในชานมแข็งเป็นไต

เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านจะมีประสบการณ์ดื่มชานมไข่มุกที่คล้าย ๆ กัน คือ เมื่อซื้อมาแล้วไม่ได้ดื่มทันที หรือหากนำไปแช่ตู้เย็นทิ้งไว้แล้วนำกลับมาดื่ม  เนื้อสัมผัสของเม็ดไข่มุกในชานมมักจะแข็งเป็นไต ไม่ก็เปื่อยยุ่ย ขึ้นอืด ไม่หลงเหลือความเด้งเหนียวหนึบหนับนุ่มละมุนลิ้นเหมือนปรุงเสร็จใหม่ ๆ  

“ชานมไข่มุก”  ที่อร่อยและถูกปากคนส่วนใหญ่ จะมีสองส่วนที่เสริมกันคือ น้ำชานม ที่กลมกล่อม หอม หวาน ละมุน และส่วนของตัวท็อปปิ้งเม็ดไข่มุกที่มีความเหนียวนุ่มหนึบหนับและยืดหยุ่น ซึ่งชานมไข่มุกแต่ละแบรนด์จะมีรสชาติและเนื้อสัมผัสแตกต่างกันไปตามคุณภาพและมาตรฐาน ของวัตถุดิบที่ร้านและแบรนด์ชานมไข่มุกนั้นๆ เลือกใช้  

เม็ดไข่มุก ในชานมไข่มุกนั้นทำมาจากแป้งที่ให้คุณสมบัติด้านความเหนียวเป็นสำคัญ เพื่อให้ได้เนื้อสัมผัส เฉพาะตัวของเม็ดไข่มุกคือ เมื่อเคี้ยวอยู่ในปาก จะสัมผัสได้ถึงความยืดหยุ่นคล้ายกับเยลลี่ และมาพร้อมกับความนุ่ม เหนียวหนึบ เด้งสู้ลิ้น ส่วนใหญ่จึงใช้แป้งมันสำปะหลัง มาเป็นวัตถุดิบหลักเพราะให้คุณสมบัติดังกล่าวและมีราคาไม่แพง

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยคุณสมบัติตามธรรมชาติของแป้งมันสำปะหลังคือ จะคืนตัวเมื่อสุกและเย็นลง  จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เม็ดไข่มุกที่ต้มสุกพร้อมใช้ มักเปลี่ยนสภาพเมื่อเก็บทิ้งไว้นานข้ามวัน รวมถึงเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วเมื่อถูกนำไปแช่อยู่ในน้ำแข็งหรือตู้เย็น  เพราะความเย็นจะไปเร่งกระบวนการคืนตัวของแป้ง (Retrogradation) ให้เร็วยิ่งขึ้น เป็นผลให้เนื้อสัมผัสของเม็ดไข่มุกแข็งขึ้น ความยืดหยุ่นความหนึบหนับหายไป หรือที่เรียกกันว่าเม็ดไข่มุกแข็งกระด้างเป็นไต เนื้อแน่นร่วน

วิธีการที่จะลดการคืนตัวของเม็ดไข่มุกเมื่อนำไปผสมในเครื่องดื่มเย็นหรือแช่อยู่ในน้ำแข็ง หรือสามารถเก็บเม็ดไข่มุกที่ต้มสุกแล้วไว้ในตู้เย็นได้หลายวันโดยมีเนื้อสัมผัสที่เหมือนต้มเสร็จใหม่ ต้องใช้ความรู้ในเชิงวัตถุดิบเข้ามาช่วย ได้แก่

วีธีการแรก นำส่วนผสมในกลุ่มไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloids) เช่น คาราจีแนน ( Carrageenan ) โลคัสบีนกัม (locust bean gum) หรืออัลจิเนต (alginate) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารให้ความคงตัวและให้ความหนืดและการเกิดเจลนุ่ม เข้าไปผสมกับแป้งที่ใช้ทำเม็ดไข่มุก ซึ่งส่วนผสมดังกล่าวจะเข้าไปแทรกในเนื้อแป้งมัน ช่วยปรับแก้ตัวแป้งไม่ให้คืนตัวหรือแข็งเป็นไต คงความนุ่มให้กับเม็ดไข่มุกหลังต้มสุกแล้ว

วิธีการที่สอง การเติมน้ำตาล หรือส่วนผสมในกลุ่มของสารให้ความหวาน เข้าไปในแป้ง น้ำตาลพิเศษเช่น ทรีฮาโลส (Trehalose) สามารถชะลอการคืนตัวของแป้งมันสำปะหลังซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดไข่มุกได้

วิธีการที่สาม คือใช้แป้งมันชนิดที่เรียกว่าแป้งดัดแปร (modified starch)  ทดแทนแป้งมันปกติบางส่วน ซึ่งแป้งประเภทดังกล่าว มีการพัฒนาคุณสมบัติของแป้ง ให้คงความยืดหยุ่น ยึดจับน้ำได้ดีและป้องกันการคืนตัวของแป้งหลังต้มสุกแล้ว  เม็ดไข่มุกจึงยังคงความนุ่ม เคี้ยวหนึบหนับ เมื่อแช่ในเครื่องดื่มเย็นหรือแช่อยู่ในน้ำแข็งได้เป็นระยะเวลานานขึ้นกว่าเดิม

วิธีการที่สี่ เมื่อต้มเม็ดไข่มุกสุกพร้อมใช้แล้ว นำไปแช่ในน้ำเชื่อม เพื่อให้น้ำเชื่อมแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไข่มุกและไปชะลอการคืนตัวของแป้งสุก  มีผลให้ลดการแข็งตัวของเม็ดไข่มุกเมื่อสัมผัสกับความเย็น

การตัดสินใจเลือกใช้วิธีการใดก็ขึ้นอยู่กับสูตรและความเฉพาะตัวของแต่ละร้านขายชานมไข่มุกแต่ละแห่ง

บทความโดย :

อาจารย์เชิดศักดิ์ คมนา  ที่ปรึกษาบริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า

พารณ สุขสิทธิ์   R&D บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า

[email protected]

Learning Centre, News

ภารกิจทายาทรุ่น 3 “บ้านโป่งทาปิโอก้า” สร้างมูลค่าเพิ่มจาก “แป้งมัน”

ข่าวจาก Brandage วันที่ 24 พฤษภาคม 2566

https://www.brandage.com/article/35290

หนึ่งปัญหาใหญ่ของ SMEs โดยเฉพาะที่เป็นธุรกิจครอบครัวก็คือการเข้ามารับช่วงต่อกิจการของทายาท ซึ่งที่ผ่านมาก็มีกรณีศึกษาทั้งรูปแบบที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวให้เห็นอยู่เสมอ จนมีคำพูดที่บอกกันปากต่อปากว่า ธุรกิจครอบครัวจะไปต่อได้อย่างยั่งยืนได้หรือไม่ต้องดูที่ “ทายาทรุ่นที่ 3”

กรณีศึกษาของ “บ้านโป่งทาปิโอก้า” ที่เพิ่งจะผ่านสเตทนี้มาได้ จึงถือเป็นตัวอย่างการปรับตัวองค์กรให้เข้ากับยุคสมัยและสภาพการแข่งขันได้เป็นอย่างดี

บ้านโป่งทาปิโอก้า คือบริษัทที่เกิดขึ้นจากการทรานส์ฟอร์มธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัว คือบริษัท อุตสาห กรรมแป้งมันบ้านโป่ง จำกัด ที่ทำธุรกิจแปรรูปมันสำปะหลังเป็นแป้งมันสำปะหลังขายทั้งในและต่างประเทศ มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1973

ถ้าดูกันตามเนื้อผ้าแป้งมันสำปะหลังนี้จัดอยู่ในกลุ่มสินค้า Commodity Product หรือสินค้า ชั่ง ตวง วัด ที่เป็นสินค้าพื้นฐานที่สร้างมูลค่าได้ยาก

ท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังในประเทศไทยที่มีมากกว่า 80 บริษัท เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ทางผู้บริหารของอุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่ง จึงมีการหารือกันเกี่ยวกับวิสัย ทัศน์และทิศทางการเติบโตของบริษัทในอนาคตว่าจะส่งต่อให้กับทายาทรุ่นต่อไปอย่างไร ซึ่งก็ได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่าอยากจะเติบโตมากกว่านี้

ดังนั้นอุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่งจะคิดและทำแบบเดิมๆ เหมือนที่ผ่านมาไม่ได้ ถ้าต้องการหลุดพ้นจาก Commodity Product ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการ Disrupt ตัวเองสู่การเป็น Texture House & Ingradient Company

บ้านโป่งทาปิโอก้า จึงถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว ด้วยการเปลี่ยนมายด์เซตใหม่จากเดิมที่โรงงานเป็นหัวใจของบริษัทมาเป็นการใช้นวัตกรรมเป็นหัวใจของบริษัท โดยการวางเป้าหมายให้เป็น Food Tech

นายแพทย์สมิทธิ์ สุขสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายงานนวัตกรรม บริษัท บ้านโป่งทาปิโอก้า อธิบายถึงความแตกต่างในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตรอย่างมันสำปะหลังว่า แป้งมันสำปะหลังทั่วไปสามารถเพิ่มมูลค่าจากหัวมันดิบกิโลกรัมละ 3 บาท มาเป็นแป้งมัน (Native Starch) กิโลกรัมละ 12 บาท ถ้าพัฒนาสินค้าเป็นแป้งมันแปรรูป (Basis Modified Starch) จะสามารถจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 25 บาท แต่ถ้าพัฒนาเป็น Hi Value Food Texture Solution ราคาขายจะขยับขึ้นเป็น 50 บาทต่อกิโลกรัม และสุดท้ายถ้าพัฒนาไปทำเป็น Nutrition หรือ Lifestyle ราคาขายต่อกิโลกรัมจะสูงถึง 100 – 800 บาท ต่างกันไปตามชนิดของสินค้า

ที่ผ่านมา บ้านโป่งทาปิโอก้า มีการลงทุนมากกว่า 800 ล้านบาทในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันบ้านโป่งทาปิโอก้า มีพนักงานจำนวน 550 คน ในจำนวนนี้ เป็นพนักงานในส่วนของ R&D ประมาณ 45 คน มีโรงงาน 11 แห่ง มีลูกค้ากว่า 200 ราย กระจายอยู่ใน 21 ประเทศทั่วโลก โดยยอดขายรวมในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาสูงกว่าการดำเนินธุรกิจในช่วง 30 ปีแรกของบริษัท ซึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าของสินค้าที่ขายนั้นเพิ่มขึ้นจากการขายแป้งมันแบบดั้งเดิม

ถ้าดูสัดส่วนรายได้ของบ้านโป่งทาปิโอก้าจะพบว่า แป้งมันแบบดั้งเดิมที่เคยเป็นสินค้าหลักของบริษัทมากว่า 40 ปี ปัจจุบันมีสัดส่วนตัวเลขเหลือเพียง 17% ของยอดขายรวมทั้งหมด ขณะที่สินค้าในกลุ่ม Basic Modified มีสัดส่วนแบ่งขยับขึ้นไปอยู่ที่ 40.6% และสินค้ากลุ่ม Texture Solution มียอดขายถึง 40.7% และที่เหลืออีก 1.7% จะมาจาก Nutrition/Lifestyle

“คำว่าอาหารอร่อย ส่วนใหญ่เราจะพูดถึงรสชาติ แต่จริงๆ มีอีกสิ่งสำคัญเรื่องหนึ่ง คือเนื้อสัมผัส หรือ Texture เช่น กรอบ เนื้อเนียน เช่น หมูทอดทงคัตสึที่ดีต้องกรอบ เนื้อเนียน เราทำวิจัยร่วมกับบริษัทญี่ปุ่น ถ้าลองกินร้านที่ราคาสูงหน่อย เนื้อหมูกับแป้งขนมปังจะติดกัน 100% แต่ถ้าร้านย่อมเยาลงมาหน่อยจะมีช่องว่างระหว่างเนื้อหมูกับแป้งเยอะ นี่คือตัวอย่างของเนื้อสัมผัสที่ไม่เหมือน กัน

Texture Solution เราพัฒนาจากแป้งพื้นฐานมาเป็นแป้งพิเศษ เราไม่ได้ทำรสชาติ เราส่งแค่วัตถุดิบให้ตามที่พาร์ทเนอร์ต้องการ เพื่อนำไปผลิตอาหารที่มีความเหนียว ข้น ฯลฯ ตามความต้องการ เช่น ซอสมะเขือเทศของไทยของเทแล้วไหล แต่อินโดนีเซียต้องข้นๆ ต้องใช้ช้อนตัก หรือจะเป็นโยเกิร์ตที่เมืองนอกต้องตักเป็นช้อน ส่วนของเมืองไทยจะชอบเนื้อเนียนๆ ความชอบของคนในแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน เราทำหน้าที่ค้นคว้าเพื่อสร้างความแตกต่างให้ลูกค้าของเรา”

ปัจจุบัน บ้านโป่งทาปิโอก้า ผลิตสินค้าเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าใน 3 กลุ่มตลาด ได้แก่ กลุ่มแรกอุตสาหกรรมอาหาร (Food Industry) โดยการพัฒนาเนื้อสัมผัสในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความนุ่ม แน่นเนื้อ กรอบ แข็ง เปราะ ฉ่ำ เนียน หยาบ เหนียว และความเป็นเส้นใย เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 คือ อุตสาหกรรมยา (Pharma Industry) ได้แก่ การพัฒนาแป้งที่นำไปเป็นส่วนผสมในยารักษาโรค ตลอดจนนำไปใช้กลุ่ม Specialized Nutrition Need อย่างเช่น อาหารด้านสุขภาพ อาหารทดแทน รวมไปถึงอาหารทางการแพทย์ หรืออาหารเฉพาะสำหรับผู้ป่วยในกลุ่มต่างๆ อาทิ ผู้ป่วยโรคไต เบาหวาน มะเร็ง ฯลฯ

กลุ่มที่ 3 คือ อุตสาหกรรมกระดาษ (Paper Industry) โดยพัฒนาแป้งให้มีคุณสมบัติ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในขั้นตอนการขึ้นรูป เพิ่มความแข็งแรง และการเคลือบผิวหน้ากระดาษ เป็นต้น

การผลิตแป้งนวัตกรรมชั้นสูงของบ้านโป่งทาปิโอก้านั้น นอกจากการทุ่มเทพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่องในห้องแล็บแล้ว บริษัทก็ยังให้ความสำคัญต่อตัววัตถุดิบที่นำมาผลิตไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะวัตถุดิบที่ดีจะช่วยเสริมให้บริษัทสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ปัจจุบันบริษัทใช้มันสำปะหลังสายพันธุ์พิเศษมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งลูเซนท์ (LUCENT) ชนิดต่างๆ ซึ่งจุดเด่นของแป้งมันสายพันธุ์พิเศษนี้เมื่อมาบวกกับการวิจัยของบ้านโป่งทาปิโอก้า ทำให้ได้แป้งที่ผลิตออกมามีคุณสมบัติเทียบเท่ากับแป้งจากมันฝรั่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นวัตถุดิบราคาแพง

ปัจจุบัน บ้านโป่งทาปิโอก้ามีการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายปลูกมันสายพันธุ์พิเศษและรับซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด 150% ผ่านรูปแบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง โดยเกษตรกรที่เข้ามาเป็นสมาชิกภายใต้เครือ ข่ายดังกล่าวจะได้รับการดูแลจากบริษัทอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่การเพาะท่อนพันธุ์ให้กับเกษตรกรเพื่อนำไปใช้ในการปลูก ระหว่างทางก็จะมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยดูและให้คำปรึกษา จนกระทั่งถึงช่วงของการเก็บเกี่ยวขนส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงาน

ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าวนอกจากจะเข้ามาช่วยลดภาระของเกษตรกรแล้วยังจะช่วยให้บริษัทมีโอกาสได้เข้ามาควบคุมคุณภาพการเพาะปลูกได้โดยตรง และยังสามารถนำมาใช้ในการวางแผนการผลิตภายในบริษัทได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ บริษัทยังได้เริ่มมีการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบทางการเกษตรในกลุ่มธัญพืช เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแป้งที่มีมูลค่าสูง อย่างเช่น ถั่วเขียว ถั่วขาว และข้าว เป็นต้น

ปริญญ์ สุขสมิทธิ์ ผู้จัดการส่วนงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท บ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด ทายาทรุ่นที่ 3 ของบริษัทกล่าวเสริมว่า สิ่งที่บ้านโป่งทาปิโอก้าต้องการสื่อสารกับตลาดและส่งมอบให้กับลูกค้า ไม่ใช่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแปรรูปมันสำปะหลัง แต่เป็นการนำเสนอองค์ความรู้ด้านโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรตที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อสัมผัสให้กับผลิตภัณฑ์ของลูกค้า โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

การตั้งสำนักงานในกรุงเทพฯ ของบริษัทก็เพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำร่วมกับลูกค้าทั้งในและต่าง ประเทศ โดยสำนักงานในกรุงเทพฯ ของบริษัทจะเป็นศูนย์กลางการให้บริการ ตลอดจนเป็นที่ตั้งของแล็บวิจัย สถานที่ทำ Workshop ระหว่างบริษัทกับลูกค้า หรือระหว่างบริษัทกับตัวแทนจำหน่ายที่มีอยู่ใน 20 ประเทศ เพื่อนำโจทย์หรือปัญหาเกี่ยวกับเนื้อสัมผัสมาศึกษาและมองหาโซลูชั่นในการแก้ปัญหาร่วมกัน 

“ธุรกิจครอบครัว เรามักจะบอกว่าจะมีปัญหาตอนรุ่นที่ 3 ผมรับรู้เรื่องนี้ดี ผมต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง ผมโชคดีที่มีทายาทรุ่น 2 ที่เปิดรับไอเดียใหม่ๆ การเปลี่ยนตัวเองที่ทำมา 6-7 ปีมันเริ่มมีอะไรให้เห็นในวันนี้ สิ่งที่เราพยายามทำมาตลอด คือการเปลี่ยนแปลงจากบริษัทผู้ผลิตแป้งมันสำปะ หลังมาเป็น Texture Solution

เราพยายามอัพเกรดองค์ความรู้ ตั้งแต่โครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ทำให้ทีมงานมีความรู้เรื่องนี้ เราต้องเริ่มต้นด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม เราพยายามทำทีมงานให้มีความรู้ และทำงานร่วมกับลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เราเริ่มจากการคุยกับลูกค้าเพื่อหาความต้องการร้อยกว่าราย เพื่อหาความต้องการ แล้วเราก็มาหาทางออกให้

ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ บ้านโป่งทาปิโอก้า ยังได้พัฒนาแป้งนวัตกรรมสำเร็จรูปที่เข้าไปตอบโจทย์ผู้ประกอบการ SMEs และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ ภายใต้แบรนด์บ้านโป่งฟูจิซัง ซึ่งสินค้าในรูปแบบดัง กล่าวนอกจากเพื่อการทดลองและเปิดตลาดใหม่ๆ แล้ว ยังใช้เป็นสื่อกลางในการให้ความรู้กับตลาดและเป็นสะพานเชื่อมให้กลุ่มเป้าหมาย หรือธุรกิจที่กำลังมองหาโซลูชั่นที่จะเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องเนื้อสัมผัส สามารถเข้าถึงบริษัทได้ง่ายขึ้น

Learning Centre, News

“บ้านโป่งทาปิโอก้า” โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ใช้นวัตกรรมสร้างธุรกิจโตก้าวกระโดด 1,700 ล้าน โดย SME THAILAND

ขอบคุณ SME Thailand

https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/9133.html

22 มิถุนายน 2566

TEXT / PHOTO : Nitta Su.

Main Idea

  • การทำให้ธุรกิจเติบโต บางครั้งอาจไม่ได้ขึ้นอยู่ที่จำนวนการผลิตที่เยอะขึ้น หรือยอดขายที่มากขึ้น แต่อาจอยู่ที่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ โดยใช้นวัตกรรม ทำให้จากสินค้าจำนวนเท่าเดิม แต่ขายได้ราคาเยอะขึ้น
  • เหมือนกับ “บ้านโป่งทาปิโอก้า” โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังอายุกว่า 50 ปี ที่พลิกตัวเอง โดยปรับ Mindset จากผู้ผลิตแป้ง มาเป็น Food Texture Solution ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตแป้งนวัตกรรมต่างๆ เปลี่ยนธุรกิจให้เติบโตเป็นหลักพันล้านบาทได้

 ย้อนไปสมัย 50 ปีก่อน “บริษัทอุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่ง จำกัด” คือ โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังเล็กๆ แห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดราชบุรี จนเมื่อ 10 ปีก่อนหลังจากกิจการได้ตกมาอยู่ภายใต้การดูแลของทายาทรุ่นที่ 2 จากพี่น้องที่ต่างช่วยกันบริหารธุรกิจของครอบครัวมานานนับหลายสิบปี ก็เกิดการประชุมปรึกษาหารือกันถึงทิศทางต่อไปของธุรกิจ จนเกิดเป็นจุดเปลี่ยนการทรานฟอร์มครั้งใหญ่ของธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มขยับจาก 1,000 ล้านบาท เป็นเกือบ 2,000 ล้านบาท ได้ในระยะเวลาเพียงแค่ 5 ปี! พวกเขาทำได้ยังไง ไปหาคำตอบกัน

  “ธุรกิจของเราก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2516 หรือราว 50 ปีก่อน โดยคุณพ่อและคุณแม่ ชื่อเดิมของเรา คือ “บริษัทอุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่ง จำกัด” เป็นโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังทั่วไป เพื่อส่งขายให้ลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีโรงงานคู่แข่งที่ผลิตเหมือนกันในไทยอยู่ราว 80 กว่าบริษัท อยู่ท่ามกลางการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงเหมือนกัน จนเมื่อเกือบสิบปีก่อน เราประชุมปรึกษาหารือกันในกลุ่มผู้บริหารว่าจะส่งต่อธุรกิจนี้ให้กับทายาทยังไง จนได้ข้อสรุปว่าหากอยากเติบโตได้มากขึ้นกว่านี้ เราจะคิดและทำแบบเดิมต่อไปไม่ได้

     “จากจุดนั้นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เราหันมา Disrupt และคิดทรานฟอร์มตัวเอง จากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังธรรมดา สู่การเป็น Food Texture Solution เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญการผลิตแป้งนวัตกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร เพื่อช่วยให้อาหารมีเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น ไม่ว่าเมนูไหน โดยเราตัดสินใจลงทุนด้านนวัตกรรมกว่า 800 ล้านบาทในปี 2560 จนทำให้มีลูกค้ามากกว่าหลายร้อยบริษัท ส่งออกไปขายมากกว่า 21 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเราตั้งเป้าหมายใหม่ครั้งนั้นในระยะเวลา 5 ปีว่าจะทำให้ขยับเพิ่มขึ้นมาจากบริษัทพันล้าน ให้เป็นสองพันล้านบาทได้ ซึ่งปี 2565 ยอดรายได้เราอยู่ที่ 1,700 ล้านบาท และภายในปีนี้น่าจะถึง 2,000 ล้านตามที่ตั้งไว้แน่นอน” ประสิทธิ์ สุขสมิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด เล่าถึงที่มาจุดเปลี่ยนการทรานฟอร์มธุรกิจให้ฟัง

 จากความตั้งใจที่อยากปรับตัวเองจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง สู่องค์กรที่ใช้นวัตกรรมในการผลิตสินค้า นพ.สมิทธิ์ สุขสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายงานนวัตกรรมฯ ได้เล่าถึงสัดส่วนการผลิตสินค้าในปัจจุบันของบ้านโป่งทาปิโอก้าว่าจะมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มหลักก่อน ได้แก่ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีนวัตกรรมด้าน Texture Solution ต่างๆ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และ 2.อุตสาหกรรมยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น การนำแป้งไปใช้เป็นส่วนผสมในยาและอาหารสำหรับผู้ป่วย หรือผู้ที่ต้องการทางเลือกเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของอุตสาหกรรมกระดาษ โดยนำแป้งเป็นวัตถุดิบในขั้นตอนการขึ้นรูป รวมถึงของเสียที่เหลือจากการผลิต ยังนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ทรายแมว เป็นต้น

     “เราเชื่อว่าเราเดินทางมาถูกแล้วสำหรับเฟสแรกที่ปรับตัวเองจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง สู่การทำ Texture Solution เพื่อแก้ไขปัญหาให้ผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งอาหารจะอร่อยได้ต้องขึ้นอยู่ที่รสชาติและเนื้อสัมผัสที่ดี เช่น ความกรอบ เรามีหน้าที่ทำยังไงก็ได้ให้อาหารกรอบอร่อยนั้นอยู่เหมือนเดิม แม้ผ่านเวลาไปนานหรือนำไปแช่เย็น แล้วเอาออกมาอุ่นอีกครั้ง เพราะต้องคำนึงถึงการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนยุคใหม่ด้วย ซึ่งต่อจากนี้เราจะไปจับกลุ่มตลาดเพื่อสุขภาพด้วย ไม่ว่าใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมยา หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น แป้งขนมปังจากแป้งมันสำปะหลัง เป็นทางเลือกให้ผู้แพ้กลูเตน ซึ่งก็ยังไม่มีใครทำมาก่อน โดยเราภูมิใจที่เป็นโรงงานผลิตแป้งรายเดียวที่ถือหุ้นโดยคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ที่มีการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมของตัวเอง ซึ่งตั้งแต่เริ่มปรับวิสัยทัศน์กันใหม่ เราก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ มาตลอด โดยเราจะแบ่ง 2 เปอร์เซ็นต์จากยอดรายได้ เพื่อใช้ในส่วนนี้

     “โดยจากที่ผ่านมา 40 ปีก่อน อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง คือ ร้อยเปอร์เซ็นต์ของรายได้ของเรา แต่ตอนนี้เหลือเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง นอกนั้น คือ สินค้าที่มีการคิดค้นและใส่นวัตกรรมลงไป จนทำให้มูลค่าธุรกิจโตแบบก้าวกระโดด ยกตัวอย่างเช่น มันสำปะหลัง ราคากก.ละ 3 บาท เอามาแปรรูปเป็นแป้งมันสำปะธรรมดาหลังจะขายได้กก.ละ 12 บาท แต่เราเอาไปต่อยอดทำแป้งดัดแปลงพื้นฐานสามารถเพิ่มมูลค่าได้อีกขายกก.ละ 25 บาท จนปัจจุบันเราปรับมาทำในกลุ่ม Texture Solution มากขึ้นก็เพิ่มมูลค่าได้อีกเป็นกก.ละ 50 บาท และที่กำลังวางแผนให้โตไปอีกขั้น ก็คือ กลุ่ม Nutrition Lifestyle เกี่ยวกับสุขภาพและโภชนาที่ดี ถ้าทำได้จะสามารถขยับไปได้ถึงกก.ละ 100-800 บาทเลยทีเดียว

     “จะเห็นว่ามูลค่าเพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนตามนวัตกรรมที่เราใส่ลงไป จุดยืนของเราตอนนี้จึงไม่ใช่บริษัทที่ผลิต แต่เป็นบริษัทที่นำนวัตกรรมมาเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งใน 5 ปีที่ผ่านมาเราวางแผนว่าจะโตจาก 1 พันล้าน ให้เป็น 2 พันล้านให้ได้ในปีนี้ แต่ในอีก 5 ปีข้างหน้า เราตั้งเป้าจะเป็นบริษัท 4 พันล้านให้ได้ ที่มีรายได้ 70 เปอร์เซ็นต์มาจาก 2 โซลูชั่นใหม่ของเรา คือ กลุ่ม Texture Solution และ Nutrition Lifestyle”

โดยนอกจากจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้าที่มีนวัตกรรมแล้ว ในด้านการผลิตพื้นฐานตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก บ้านโป่งทาปิโอก้าก็มีการพัฒนาร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมามีคุณภาพ ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ใช้ ไปจนถึงการดูแลอย่างครบวงจร ตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว รวมถึงการแสวงหาพืชในกลุ่มธัญพืช เพื่อนำมาผลิตแป้งที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วย กิตติ สุขสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายซัพพลายเชนฯ ได้ให้รายละเอียดว่า

     “นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว เรายังให้ความสำคัญการพัฒนาวัตถุดิบตั้งแต่ต้นทางด้วย ยกตัวอย่างเช่นมันสำปะหลังที่ใช้ในตอนนี้ ก็เป็นสายพันธุ์พิเศษ ชื่อว่า “ลูเซนท์” (Lucent) ซึ่งผลิตออกมาแล้วจะมีคุณสมบัติเทียบเท่าแป้งมันฝรั่งที่มีราคาสูงกว่า 5-6 เท่า โดยเรามีการรับซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด 150% ผ่านรูปแบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง เกษตรกรที่เข้ามาเป็นสมาชิกในเครือข่ายดังกล่าวจะได้รับการดูแลจากบริษัทอย่างดี ครบวงจร ตั้งแต่การเพาะท่อนพันธุ์ ให้เกษตรกรนำไปใช้ในการปลูก โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปดูแลและให้คำปรึกษาอยู่ตลอด

     “มีการนำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ เช่น การวิเคราะห์สภาพดินแต่ละแปลงปลูก มีธาตุอาหารสำคัญอยู่เท่าไหร่ โดยใช้วิธีดูผ่านแผนที่ดาวเทียม เพื่อการให้ปุ๋ยที่เหมาะสม โดยแต่เดิม คือ เกษตรกรต้องนำตัวอย่างดินมาให้ ซึ่งเรามีทีมไอทีของตัวเองเข้ามาดูแลโดยเฉพาะ จากการพัฒนาดังกล่าวทำให้เราสามารถรู้ปริมาณคร่าวๆ ในการผลิต เพื่อนำไปบริหารจัดการให้ได้พอดีกับความต้องการของตลาด เพื่อให้ได้วัตถุดิบสดใหม่ มีคุณภาพ มีการเก็บข้อมูล Big Data ติดเป็นซีเรียลนัมเบอร์เลยว่าถุงนี้ผลิตมาจากไร่ไหน เพื่อการดูข้อมูลย้อนกลับ

     “ที่สำคัญเรายังมีการให้ความสำคัญกับการผลิตโดยยึดหลักของ BCG Model ด้วย โดยในกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลังของเรานั้น ไม่มีส่วนใดเลยที่เหลือทิ้งเลย ทุกส่วนถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งหมด เช่น กากมันสำปะหลัง เราก็ขายเป็นอาหารสัตว์ หรือแจกให้เกษตรกรนำไปเพาะเห็ด หรือทดลองทำทรายแมว เป็นต้น น้ำเสียจากการผลิตเราก็นำไปทำเป็นก๊าซชีวภาพ นอกจากนี้เรายังมีการขายคาร์บอนเครดิตด้วย ซึ่งรายได้จากการนำของเสียเหล่านี้มาเพิ่มมูลค่าสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทปีละ 2-3 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายเลยทีเดียว”

 จากการ Disrupt ตัวเองของบ้านโป่งทาปิโอก้า พลิกวิธีคิดในการทำธุรกิจ ทำให้ในวันนี้จึงไม่ใช่แค่ผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังแปรรูปเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้แป้งเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในด้านการสร้างเทคเจอร์ หรือเนื้อสัมผัสต่างๆ เพื่อช่วยตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค โดยเปลี่ยนตัวเองสู่ Texture House Company ให้บริการ Texture Solution ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเดินเข้ามาขอคำปรึกษาเพื่อให้ช่วยพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ได้

     “ในช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมา เราพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองจากผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง มาเป็นบริษัทที่ให้บริการช่วยลูกค้าแก้ไขปัญหาหรือผลิตนวัตกรรมเกี่ยวกับแป้ง เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เราไม่ใช่แค่คนแปรรูปแป้งมันสำปะหลัง แต่คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้ด้านโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเราไม่รู้ความต้องการจากลูกค้า หลายครั้งที่โจทย์ของลูกค้า คือ การพัฒนาต่อยอดให้กับเรา ที่ผ่านมาเราอาจทำกับลูกค้าต่างประเทศมาตลอด แต่วันนี้เราจะกลับมาทำตลาดในประเทศให้มากขึ้น เพื่อช่วยผู้ประกอบการไทย โดยเข้ามาตั้งออฟฟิศอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

     “และนอกจากมันสำปะหลังแล้ว เรายังมองหาวัตถุดิบอื่นที่มีคุณภาพเพื่อนำมาผลิตเป็นแป้ง เช่น ถั่วเขียว, ถั่วขาว และข้าว เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ที่เราสามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ในวันนี้ เราไม่ได้ทำเยอะขึ้นมากกว่าเดิม เราทำเท่าเดิม แต่ใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าธุรกิจให้มากขึ้น” ปริญญ์ สุขสมิทธิ์ ผู้จัดการส่วนงานพัฒนาธุรกิจฯ ทายาทรุ่นที่ 3 กล่าวทิ้งท้ายเอาไว้

Learning Centre, News

Banpong Tapioca: Creating Business Opportunity through Manufacturing Process under BCG Economy Model

Interviewed by:Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
[email protected]

https://www.foodfocusthailand.com/whats-in/banpong-tapioca-creating-business-opportunity-through-manufacturing-process-under-bcg-economy-model

The Thai food and beverage industry needs to adapt and adjust its manufacturing processes to better accommodate the BCG economy model. Meanwhile, Mr.Kitti Suksmith, Deputy Managing Director of Supply Chain, Banpong Tapioca Co., Ltd., further comments that “If food operators successfully adapt themselves to the BCG economy model, they can run their business without worrying about any consequential adverse effects, strive for the development of other aspects of business, and eventually contribute to the overall sustainability of the sector.”

Banpong Tapioca Co., Ltd., has continuously been focusing on and incorporating the BCG model into its business operations. The company uses and processes tapioca, which is a natural raw material, without producing any waste thanks to the fact that every manufacturing by- or co-product is reused and circulated to add more value to the community economy. In addition, the company also pays special attention to industrial waste management by using biogas system in which manufacturing wastewater is converted into clean energy and used to generate electricity for usage within facilities. The remaining gases are used to produce steam, which can be useful in starch-baking process. As a result, these initiatives have helped eliminate the need to purchase external energy from suppliers and are considered one of the solutions towards zero waste. If the Thai food and beverage industry does not adapt itself to the BCG model today, the undesirable consequences may not only befall the brand image and the environment, but further negative effects may ensue. For example, trade protection policies may be imposed by overseas economies, or additional rules on imports and higher tariff barriers may be established, and these issues may compromise Thailand’s competitiveness. However, if our manufacturing processes are adjusted and become more environmentally friendly and capable of evaluating carbon footprint, the Thai food and beverage industry will enjoy more opportunities and enhanced competitiveness in the global markets.

แป้งทำหมูทอดทงคัสสึ
Learning Centre

Easier TONKATSU , Deep fried batter Starch

What is Tonkatsu ?!

Tonkatsu (Japanese: 豚カツ, とんかつ or トンカツ) is a dish that uses thick slices of pork. Knead the flour with egg and coat with bread crumbs. The name is derived from the Japanese word ton (pork) and the English word cutlet (meat cutlet) representing Japan. and of course being loved by the Japanese and everyone around the world

History ?!

The root of the word Tonkatsu comes from the French word cotolette (loin of veal, lamb, or pork), in English it is called “cutlet” and is used in the Japanese style as “katsuret. Tsu (Katsuretsu)”

In the late 19th century, Western dishes such as katsuretsu, beef and chicken began to infiltrate the menus of restaurants in Japan. After about 1895 A western restaurant in Ginza, Tokyo has begun selling the menu. Pork katsuretsu and began to gain more and more popularity. and around 1930 The Ueno and Asakusa neighborhoods of Tokyo have begun to use thick cuts of pork to make katsuretsu. Hence, it was called tonkatsu.

Japanese people who believe in superstitions Before a test or a sporting event, it is customary to eat tonkatsu. Since the word “katsu” in tonkatsu means “victory”, I want everyone to try tonkatsu. and pray for victory before any competition.

Ingredients for making Tonkatsu (Fried Flour)

Ingredients of Batter
Ingredients Quantity
Modified starch 100
cold water160
Ingredients of Tonkatsu
Ingredients Quantity
pork sirloin70-80 / 1ชิ้น (5 ชิ้น)
Salt3
Pepper3
breadcrumbs150

KEYWORD

keyword in the ingredients of tonkatsu What is each type??

Method for making Tonkatsu (Fried Flour)

  • Take the pork tenderloin to absorb a little water.
  • Mix the pork, seasoned salt, ground white pepper together and let it rest for 10 minutes.
  • Weigh Modified starch according to the amount. Pour cold water into the flour according to the ratio and mix the flour with water until homogeneous.
  • Remove the marinated pork. Dip into batter or paste. Then let the batter drop for about 10 seconds.
  • Then coat with bread crumbs. Press the breadcrumbs to stick to the batter.
  • Fry in oil at a temperature of 170-180 degrees Celsius for about 5-7 minutes.
  • Set aside to drain the oil. then let it cool
Modified starch

Modified Starch can be used in many applications. Thailand and Asia, tapioca starch is increasingly being used to make Food Modified Starch. Because of the uniqueness of tapioca starch and non-GMOs, Tapioca Modified Starch is gradually becoming popular all over the world.

Modified starch powder can be divided into 3 types according to principle. Modifications;

  1. Physical Modification
  2. Enzymatic Modification
  3. Chemical Modification

Benefit of Batter

  1. Can replace eggs
  2. Reduce cost
  3. It has good adhesion of batter to pork.
  4. No cavity
  5. Suitable for the factory to make pork batter.
banpong daifuku starch
Learning Centre

DAIFUKU , JAPANESE SWEETS , Soft and Chewy.

MOCHI DAIFUKU ?!

What is MOCHI !?

MOCHI is a dessert made from glutinous rice flour that has been steamed and pounded until homogeneous. It can be eaten fresh after pounding, grilling, or adding to other dishes such as red bean soup. Mochi is considered an auspicious snack on many occasions. Therefore, it is used for important days or ceremonies such as kagami mochi on New Year’s Day. Sakura Mochi on Girls’ Day

What is Daifuku !?

Daifuku JAPANESE SWEETS confectionery is a type of mochi. Bring glutinous rice flour to wrap the red bean paste filling. and knead the outer powder for easy access Nowadays, the filling is replaced with fruits such as oranges, kiwis, especially strawberries, which are called Ichigo Daifuku, or you may replace red beans with white beans, green tea cream,

In the Edo period of 1771 in Kogawa (Today’s Bunkyo Ward) Quail Mojin It has been molded into a smaller size because the filling is made from red bean paste mixed with sugar. Make it stay pregnant for a long time called “Harafutomochi” (腹太餅) means bloated mochi (腹:stomach, 太:bloated, expand, 餅:mochi) and “daifukumochi. ” (大腹餅) means mochi that makes your stomach grow (大:grow, 腹:stomach, 餅:mochi).

for auspiciousness The Japanese changed the kanji for daifuku by changing the kanji for “stomach”, fuku (福) meaning “good luck” and the kanji for dai. Fukumochi also changed from 大腹餅 to 大福餅, making the present-day Daifuku. mean “Mochi that makes you very lucky”

Ingredient for making DAIFUKU

IngredientsQuantity
Modified Starch27.27 %
Glutinous rice flour3.03 %
Sugar9.09 %
Water60.61 %
Red bean135-140 gram

Method for making DAIFUKU

  • Weigh the ingredients according to the given recipe. And bring the ingredients to mix together, add water little by little and gradually stir the ingredients to dissolve together.
  • Bring the flour that has been put in the pan. Use low heat to stir until the dough is cooked, about 5-6 minutes, and then take out the dough and place it on a lightly floured table.
  • Weigh 20 grams of flour, then roll it and wrap it with 15 grams of red bean filling.
  • Close the bottom of the candy tightly, wrap it in plastic wrap.

Modified Starch can be used in many applications. Overseas, corn starch is commonly used to make Modified, but in Thailand and Asia, tapioca starch is increasingly being used to make Food Modified Starch. Because of the uniqueness of tapioca starch and non-GMOs, Tapioca Modified Starch is gradually becoming popular all over the world.

Modified starch
Modified starch

RESULT

STARCHFREEZE THAWCOST EFFECTIVESOFTNESSCOHESIVENESSCHEWINESS
ST88195999
SS871-SP01710887
GLUTINOUS RICE37765

banpong peanut coating
Learning Centre, TTSA-Price

Peanuts Coated , Peanuts Baked , Peanuts Japanese Formula with Healthy Baking Method

Peanuts Coated , Peanuts Baked , Japanese Peanuts What is it ?!

Peanuts Coated may also be called ground peas, peas, or peas. It is a herbaceous plant in the legume family. (Leguminosae), as well as soybeans and mung beans, the scientific name Arachis hypogaea L. is a legume that is high in oil. It is classified as an economically important oil crop.

“Glazed beans, toasted beans, or Japanese beans. It is a product in the group of snacks that popular There are different flavors and textures. This depends on the manufacturer and consumer demand. The main raw materials in the production can be divided into 2 parts: (1) the powder coated part Wheat flour is commonly used as an element to create a spider web structure for products. Including glutinous rice flour, which has a high amylopectin content (Amylopectin), resulting in good swelling of the product. It also gives the product a texture like Tender Bite (2). Acts as a glue (Binder), It helps to make the starch coating adhere to the beans as well.

There is a simple production process. Starting from the selection of seeds of similar size. so that the powder coating on the product is uniform And use a coating machine (Coating Machine), which must control the rotation speed to coat the beans. Coating by spraying glaze alternating with sprinkle of glaze. until the batter has completely coated the beans. And for heating, it can be done in 2 ways: Oven and Frying.

Ingredients for making Peanuts Coated , Peanuts Baked

Flour used for coating

IngredientQuantity
Wheat flour30 %
Modified Starch30 %
Potato starch30 %
Maltodextrin6 %
Salt4 %
Peanuts300 gram

Water used for coating

IngredientQuantity
Water50 %
Sugar50 %
Modified starch
Modified starch
Maltodextrin
Maltodextrin

Method for making Peanuts Coated , Peanuts Baked

  • Mix water and sugar according to the specified ratio. Stir the sugar to dissolve and put it in the spay machine.
  • Modified Starch , potato starch, wheat flour, Maltodextrin and salt are mixed together. Then sift the ingredients with a flour sieve.
  • Put the peanuts in the roller. Then use a spray machine to spray water over the beans and sprinkle lightly alternately with flour (coated 15 rounds of flour). – Let the beans rest for 1 hour (set at room temperature).
  • Let the coated nuts rest for 1 hour (let it sit at room temperature).
  • Fry the beans or bake at about 160-170 degrees Celsius for 10 minutes.
  • let cool

KEYWORD

keyword in the ingredients for making peanuts coated peanuts What is each type of toasted peanuts??

Modified starch

Modified Starch can be used in many applications. Overseas, corn starch is commonly used to make Modified, but in Thailand and Asia, tapioca starch is increasingly being used to make Food Modified Starch. Because of the uniqueness of tapioca starch and non-GMOs, Tapioca Modified Starch is gradually becoming popular all over the world.

Maltodextrin

Maltodextrin It starts from starch, from cassava starch or from rice, wheat, etc. We put the starch into the process of hydrolysis with enzymes and digested by acid again.

Glucose starch successively will be cut to a much shorter length. left to become few glucose After that, it goes into the Spray Dried machine to make it into powder. We call the product here Maltodextrin.

RESULT

STARCHCRISPNESSHARDNESSEXPANSIONREDUCE OIL
ABSORPTION
COST
EFFECTIVENESS
JASMINE335710
CW135589667
CW1301981055
EXPANSION
PRODUCTSize-diameter of
coated  peanut (before)
Size-diameter of
coated  peanut (After)
Thickness of
coated  starch
TapioPro Jasmine 
(Native Pregelatinized 
Tapioca Starch)
CW1301

100% Amylopectin Tapioca Starch to Enhance Food Product.

Peanut Coating

– Clean Label

– Super Expansion

– Lighter Crispiness

Contact us at Banpong.com / [email protected]

แป้งทำไดฟุกุ
Learning Centre, สูตรขนม

DAIFUKU ไดฟูกุ ขนมญี่ปุ่น เหนียวนุ่มหนึบ

DAIFUKU ไดฟูกุ ขนมญี่ปุ่น

MOCHI คืออะไร ??

MOCHI คือ ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วนำมาตำจนเป็นเนื้อเดียวกัน อาจทานสดๆ หลังตำ นำไปย่าง หรือใส่อาหารอื่น เช่น ซุปถั่วแดง โมจินับเป็นขนมมงคลในหลายโอกาส จึงมีการนำไปใช้ประกอบวันสำคัญหรือพิธีต่างๆ เช่น คางามิโมจิในวันปีใหม่ ซากุระโมจิในวันเด็กผู้หญิง

DAIFUKU คืออะไร ??

DAIFUKU ไดฟูกุ ขนมญี่ปุ่น คือ โมจิประเภทหนึ่ง นำเอาแป้งข้าวเหนียวมาห่อไส้ถั่วแดงกวน และคลุกผงแป้งด้านนอกเพื่อให้หยิบได้สะดวก ปัจจุบันมีการเปลี่ยนไส้ด้านในเป็นผลไม้ เช่น ส้ม กีวี โดยเฉพาะสตรอเบอร์รีที่เรียกกันว่า อิจิโกะไดฟูกุ หรือ อาจเปลี่ยนถั่วแดงเป็นถั่วขาว ครีมชาเขียว คัสตาร์ด หรือ ครีมสดต่าง ๆ

ที่ญี่ปุ่น มีเรื่องเล่าว่า Daifuku ไดฟูกุ ขนมญี่ปุ่น มาจากขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า “อุซึระโมจิ” (鶉餅:うずらもち) หรือ “โมจินกกระทา” เพราะมีชิ้นใหญ่ ยาว และรูปร่างเหมือนนก

ในสมัยเอโดะ ปี 1771 (หลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองได้ 4 ปี) ที่เมืองโคะกาว่า (เขตบุนเคียวของกรุงโตเกียวในยุคปัจจุบัน) ขนมโมจินกกระทา ได้ถูกปั้นให้มีขนาดเล็กลง เพราะ ไส้ทำจากถั่วแดงกวนผสมน้ำตาล ทำให้อยู่ท้องได้นาน เรียกว่า “ฮะระฟุโตะโมจิ” (腹太餅) แปลว่า โมจิที่ทำให้ท้องป่อง (腹:ท้อง, 太:ป่อง ขยาย, 餅:โมจิ) และ “ไดฟูกุโมจิ” (大腹餅) แปลว่า โมจิที่ทำให้ท้องโต (大:โต, 腹:ท้อง, 餅:โมจิ)

เพื่อความเป็นศิริมงคล คนญี่ปุ่นได้เปลี่ยนตัวอักษรคันจิ ของคำว่า ไดฟูกุ โดยเปลี่ยนตัว ฟุกุ (腹) ที่แปลว่า “ท้อง” ให้เป็นตัว ฟูกุ (福) ที่แปลว่า “โชคดี”  และ ตัวอักษรคันจิของคำว่า ไดฟูกุโมจิ ก็เปลี่ยนจาก 大腹餅 เป็น 大福餅 ทำให้ขนมไดฟูกุในปัจจุบัน มีความหมายว่า “โมจิที่ทำให้โชคดีมาก” นั่นเอง

ส่วนผสมของการทำ ไดฟูกุถั่วแดง ขนมญี่ปุ่น

ส่วนผสมปริมาณ
Modified Starch27.27 %
แป้งข้าวเหนียว3.03 %
น้ำตาลทรายชนิดละเอียด9.09 %
น้ำเปล่า60.61 %
ถั่วแดงกวน135-140 กรัม

วิธีการทำ ไดฟูกุถั่วแดง ขนมญี่ปุ่น

1. ชั่งส่วนผสมตามสูตรที่กำหนด และนำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากันเติมน้ำทีละนิดและค่อยๆคนส่วนผสมให้ละลายเข้ากัน

2. นำน้ำแป้งที่ได้ใส่ในกระทะ ใช้ไฟอ่อนกวนจนแป้งสุกประมาณ 5-6 นาที และนำแป้งออกมาวางบนโต๊ะที่โรยด้วยแป้งนวล

3. นำแป้งมาชั่งขนาด 20 กรัม จากนั้นนำมารีดแล้วห่อด้วยไส้ถั่วแดงขนาด 15 กรัม

4. ห่อปิดขนมให้สนิทห่อด้วยพลาสติกห่ออาหาร

โมดิฟายด์ สตาร์ช สามารถใช้ได้ในหลาย Application

ประเทศไทย และ เอเชีย แป้งมันสำปะหลังถูกนำมาทำ Food Modified Starch มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะแป้งมันมีเอกลักษณ์ของตัวเอง และ non-GMOs แป้งมันสำปะหลัง Tapioca Modified Starch จึงค่อยๆ นิยมไปทั่วโลกโมดิฟายด์ สตาร์ชแต่ละตัว เมื่อดัดแปลงแล้ว จะมีคุณสมบัติที่แต่งต่างกัน ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษซึ่งเหมาะสมกับ Application

โมดิฟายด์ สตาร์ช สามารถแบ่งได้ 3 ชนิดตามหลักการ Modification

  1. Physical Modification ดัดแปลงด้วยวิธีทางกายภาพ
  2. Enzymatic Modification ดัดแปลงด้วยวิธีทางเอนไซม์ หรือ ทางชีวภาพ
  3. Chemical Modification ดัดแปลงด้วยวิธีทางเคมี
Modified starch

RESULT

STARCHFREEZE THAWCOST EFFECTIVESOFTNESSCOHESIVENESSCHEWINESS
ST88195999
SS871-SP01710887
GLUTINOUS RICE37765

สั่งซื้อแป้งไดฟุกุ จาก บ้านโป่งฟูจิซัง ทาง Shopee ทาง

1 2
About Exponent

Exponent is a modern business theme, that lets you build stunning high performance websites using a fully visual interface. Start with any of the demos below or build one on your own.

Get Started
Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from Youtube
Vimeo
Consent to display content from Vimeo
Google Maps
Consent to display content from Google
Spotify
Consent to display content from Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from Sound
Get a Quote