Request sample
Khun Ree
Learning Centre

เทคนิคทำข้าวเหนียวมูลให้นุ่มข้ามวัน นำออกจากตู้เย็นหรือช่องแช่แข็งมาอุ่น ยังได้เนื้อสัมผัสเหมือนเพิ่งปรุงเสร็จ

วิธีทำข้าวเหนียวมูนให้นุ่มข้ามวันข้ามคืน และเมื่อนำมาอุ่นหลังแช่เย็นหรือแช่แข็ง ยังมีเนื้อสัมผัสเหมือนเพิ่งปรุงเสร็จ ตัวเม็ดข้าวก็ยังไม่เละหรือเปื่อยยุ่ย เรื่องนี้เป็น Pain Point หรือปัญหา ของพ่อค้าแม่ค้าขายข้าวเหนียวมูลไปจนถึงกลุ่มผู้บริโภคข้าวเหนียวมูลที่มองหาคำตอบมีร่วมกัน

หากเรานำปัญหาข้างต้นไปค้นหาใน google เราก็จะพบข้อมูลมากมายจากหลายๆแหล่งเพื่อให้ข้อแนะนำ การแก้ปัญหาและวิธีการทำข้าวเหนียวมูลให้เก็บไว้ได้นานโดยที่รสชาติและเนื้อสัมผัสไม่เปลี่ยนรวมถึงเคล็ดลับที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำข้าวเหนียวมูลมาแบ่งปันกันมากมาย

แต่วิธีไหนละที่ได้ผลจริงๆ อาจจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหารมาช่วยค้นหาคำตอบนี้ ซึ่งก่อนจะตัดสินใจจะเลือกวิธีไหนที่นำมาปรับใช้แล้วสามารถแก้ปัญหานี้ได้จริงๆนั้น เราก็ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาทำข้าวเหนียวมูลกันก่อน

การทำข้าวเหนียวมูลจะมีวัตถุดิบหลัก 3 อย่างคือ ข้าวเหนียว กะทิ และน้ำตาล

เริ่มที่ข้าวเหนียว วัตถุดิบหลักของข้าวเหนียวมูล โครงสร้างตามธรรมชาติของแป้งข้าวเหนียวหรือเมล็ดข้าวเหนียว จะมี อมิโลเปคติน  (amylopectin)  เป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากการรวมตัวของกลูโคสเป็นโมเลกุลใหญ่มีโครงสร้างเชื่อมต่อกันแบบแยกเป็นกิ่งก้านสาขา เกือบ 100% ดังนั้นข้าวเหนียวเมื่อเย็นตัวลงแล้ว มักจะมีการเปลี่ยนสภาพ จากเหนียวนุ่ม ไปเป็นแข็งกระด้าง และหากทิ้งไว้นานๆสภาพของข้าวเหนียวก็จะมีการเกาะติดกันแน่น และเมื่อทิ้งไว้ค้างคืน เนื้อสัมผัสก็จะแข็งขึ้น เมล็ดข้าวจะเกาะรัดตัวกันแน่นยิ่งขึ้นแทบจะไม่เหลือสัมผัสของความนุ่มละมุนเหมือนตอนนึ่งเสร็จใหม่ๆ และหากนำข้าวเหนียวไปแช่ตู้เย็น สภาพของเม็ดข้าวเหนียวก็จะเกาะตัวติดกันแน่นแข็งเป็นหิน

สำหรับกะทิและน้ำตาลในข้าวเหนียวมูล ไม่เพียงแต่เพื่อชูรสของความหวานมันนัวให้กับข้าวเหนียวมูล ทั้งนี้ไขมันในกะทิ และโมเลกุลของน้ำตาล ยังเป็นส่วนผสมสำคัญที่เข้าไปเคลือบเมล็ดข้าวและแทรกกลางระหว่างเมล็ดข้าวเหนียวของข้าวเหนียวมูลไม่ให้มาเกาะติดและรวมตัวกัน  ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่า ข้าวเหนียวมูลนั้นจะมีความร่วนไม่เกาะติดกันเป็นก้อนเมื่อเย็นตัวลงเหมือนข้าวเหนียวนึ่งปกติที่ไม่ได้ผสมกับอะไร

เมื่อเข้าใจธรรมชาติของข้าวเหนียวแล้วและเข้าใจถึงคุณสมบัติของกะทิและน้ำตาลแล้ว วิธีการที่ทำให้ข้าวเหนียวมูลคงความนุ่มนิ่ม ข้ามวันข้ามคืน หรือในกรณีนำเก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดานานนับอาทิตย์แล้วนำออกมาอุ่นรับประทานก็ยังได้เนื้อสัมผัสเช่นทำเสร็จใหม่ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากสลับซับซ้อนอันใด

ข้อแนะนำวิธีการแรกคือ ใช้กะทิที่มีความเข้มข้นของไขมันในระดับที่สูงมาใช้ในในการทำข้าวเหนียวมูล  แต่จุดอ่อนของวิธีการนี้คือ การที่ต้องใช้น้ำกะทิในปริมาณที่มาก อาจจะทำให้ข้าวเหนียวมูลแฉะมากเกินไป บวกกับด้วยคุณสมบัติของกะทิที่เสียง่ายจะทำให้ข้าวเหนียวมูลเก็บไว้ได้ไม่นาน 

วิธีการที่สอง ใช้กะทิ ควบคู่กับไขมันจากน้ำมันพืช หรือน้ำมันมะพร้าว ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้ลดต้นทุนกะทิ ใช้กะทิน้อยลง และข้าวเหนียวมูลยังสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า ไม่เกิดการคลายตัวของข้าวเหนียวมูลเมื่อนำกลับมาอุ่นหลังผ่านการแช่เย็น ทราบมาว่าร้านข้าวเหนียวร้านเจ้าดังหลายๆเจ้าก็ใช้เทคนิคนี้เป็นเคล็ดลับ

วิธีการที่สามใช้น้ำตาล ซึ่งโมเลกุลของน้ำตาลมีขนาดเล็กสามารถเข้ามาแทรกและเคลือบเมล็ดข้าวช่วยลดการจับตัวของข้าวเหนียวมูลเมื่อเย็นตัวลงหรือนำเข้าตู้เย็น แต่รสชาติของข้าวเหนียวมูลที่ใช้หลักการนี้จะมีรสหวานกว่าทั่วๆไป ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับผู้บริโภคที่ไม่ชอบรสหวานจนเกินไป

บทความโดย :

อาจารย์เชิดศักดิ์ คมนา  ที่ปรึกษาบริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า

พารณ สุขสิทธิ์   R&D บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า

[email protected]

News

เยี่ยมโรงงาน : “มันสำปะหลัง” พืชไม่มี Waste แถมขึ้นแท่น Texture Solution ภายใต้ BCG MODEL

ขอขอบคุณ sdperspectives ที่ให้เกียรติเข้าเยี่ยมชมและทำข่าว การดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ BCG ของโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่ง อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ https://www.sdperspectives.com/circular-economy/21383-visit-banpong-tapioca/

10 กันยายน 2566…บริษัท บ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด ได้สะท้อนภาพดังกล่าวข้างต้นภายใต้ BCG MODEL ผ่านรูปแบบการดำเนินงานและเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืนตลอดระยะเวลา 50 ปี ปัจจุบันยกระดับและแก้ปัญหาเนื้อสัมผัส ในอุตสาหกรรมอาหารและไม่ใช่อาหาร มีฐานลูกค้ากระจายอยู่ทั่วโลก

ชัยวุฒิ  สุขสมิทธิ์ กรรมการบริหาร ประสิทธิ์ สุขสมิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ กิตติ สุขสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายซัพพลายเชน นพ.สมิทธิ์ สุขสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายงานนวัตกรรม บริษัทอุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่ง จำกัด หรือ บ้านโป่งทาปิโอก้า ฉายภาพบริษัทครอบครัวมีฐานการผลิตและสำนักงานใหญ่อยู่ที่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันมีพนักงานจำนวน 550 คน ในจำนวนนี้ เป็นพนักงานในส่วนของ R&D ประมาณ 45 คน มีโรงงาน 11 แห่งในจังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี มีลูกค้ากว่า 200 ราย กระจายอยู่ใน 21 ประเทศทั่วโลก

วันนี้เราอยู่ที่โรงงานแห่งแรกเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ที่ยังสามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมได้อย่างทันยุคทันสมัย

“สิ่งที่บริษัทยึดเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจตลอดครึ่งทศวรรษคือ การคำนึงถึงความอยู่รอดในระยะยาวและเติบโตอย่างมั่นคง ซึ่งจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้นั้น บริษัทจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งการบริหารจัดการที่ดีในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชุมชน สิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบให้คุ้มค่ามากที่สุด ตลอดจนการมองหาโอกาสช่องทางที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่ผลิต”

ประสิทธิ์กล่าวต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของบริษัทจากอดีตถึงปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าเป็น BCG โดยธรรมขาติ

“เมื่อพบว่าแนวปฎิบัติของบริษัทไปสอดคล้องกับการส่งเสริมรณรงค์ BCG Model ของภาครัฐ เท่ากับตอกย้ำความและเพิ่มความเชื่อมั่นให้บริษัทว่า แนวทางปฏิบัติที่ผ่านมาจนยุทธศาสตร์ต่อไปที่บริษัทวางไว้นั้นได้มาถูกทางแล้ว และจะเป็นพื้นฐานที่ทำให้บริษัทเติบโตยั่งยืนในเวทีโลกได้อย่างแน่นอน”

 ณ วันนี้บ้านโป่งทาปิโอก้า ผู้บริหารบริษัทยืนยันว่า เป็นธุรกิจที่เดินตาม BCG Model ได้อย่างครบวงจร

เริ่มจากเศรษฐกิจชีภาพ (Bio Economy) ธุรกิจของบ้านโป่งทาปิโอก้า ก็คือเรื่องของเศรษฐกิจชีวภาพอยู่แล้วเกี่ยวพันทั้งด้านการเกษตรและธุรกิจอาหารจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร บริษัทมีการวิจัยพัฒนาและส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ปลูกมันสายพันธุ์พิเศษเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของมันสำปะหลังและรับซื้อในราคาที่สูงกว่า ท้องตลาด 100%- 150% นอกจากนี้เกษตรกรในเครือข่ายจะได้รับการดูแลจากบริษัท อย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่ การเพาะท่อนพันธุ์ ให้กับเกษตรกรเพื่อ นำไปใช้ในการเพาะปลูก ระหว่างทางก็จะมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยดูและให้คำปรึกษา จนกระทั่งถึงช่วงของการเก็บเกี่ยว ขนส่ง ผลผลิตเข้าสู่โรงงาน

  • บรรยายใต้ภาพ: โรงงานมันสำปะหลังแห่งแรกยังคงทำหน้าที่ 24×7 ภายใต้การดูแลของพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ รวมถึงดูแลแปลงทดลองปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ของบริษัทในโรงงาน

“ปัจจุบันบริษัทส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังสายพันธุ์พิเศษ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต ในสายพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ สายพันธุ์ ลูเซนท์ (LUCENT) ซึ่งจุดเด่นของมันสายพันธุ์พิเศษนี้เมื่อมาบวกกับการวิจัยของบริษัท ทำให้ได้แป้งที่ผลิตออกมามีคุณสมบัติเทียบเท่ากับแป้งจากมันฝรั่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นวัตถุดิบราคาแพง ทุกวันนี้เกษตรกรในเครือข่ายของบริษัทที่มีปะมาณ 2,000 ครอบครัวสามารถขายมันสำปะหลังได้ ประมาณ 20,000-30,000 บาทต่อไร่”

ในมิติของ เศรษฐกิจชีวภาพ   คือการนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาพัฒนา การผลิตของบ้านโป่งทาปิโอก้า นั้นนับว่าเป็นหัวใจของการเติบโตของบริษัทในรอบ 5-6 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องของการขับเคลื่อนงานวิจัยพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ของบริษัทให้เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินกิจการจากโรงงานแปรรูปแป้งแบบเดิมเพื่อก้าวไปเป็น Texture House company เพื่อให้บริการ Texture Solution ที่จะเข้าไปช่วยแก้ Pain Points ทางด้านเนื้อสัมผัส(Texture) โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อาหารทางการแพทย์ กลุ่มอุตสาหกรรมยา และ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหารอย่างอุตสาหกรรมกระดาษ

  • บรรยายใต้ภาพ: ห้อง Lab ในโรงงานแห่งนี้ เป็นที่รับโจทย์จากลูกค้าที่ต้องการ Texture Solution หลากหลายรูปแบบจากโรงงาน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมของลูกค้า เช่นเดียวกับลูกค้าที่เสมือนทาสแมว มักจะหาทรายแมวคุณภาพดีให้ลูกรัก และส่วนใหญ่ก็พบว่าทรายแมวจากมันสำปะหลังคือสิ่งที่แมวชอบ

ทั้งนี้ ผลพลอยได้การดำเนินงานดังกล่าวนอกจากจะเข้ามาช่วยลดภาระของเกษตรกรแล้ว ยังจะช่วยให้บริษัทมีโอกาสได้เข้ามาควบคุมคุณภาพการเพาะปลูกได้โดยตรง ทำให้สามารถวางแผนการผลิตภายในบริษัทได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

“พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้เริ่มมีการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบทางการเกษตร ในกลุ่มธัญพืช เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแป้งที่มีมูลค่าสูง อย่างเช่นถั่วเขียว ถั่วขาว และข้าว เป็นต้น”

มาถึง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หัวมันสำปะหลัง จะประกอบด้วย สามส่วนคือ แป้ง กาก และน้ำ หลังจากที่สกัดนำเอาส่วนของแป้งไปใช้ ส่วนที่เหลือคือ น้ำ กากมันรวมถึงเปลือกมัน ก็คือของเหลือใช้ แต่ในกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลังของบริษัทในทุกวันนี้ ไม่มีส่วนใดที่เหลือทิ้งเลย

  • บรรยายใต้ภาพ: น้ำที่ใช้ขั้นตอนแรกหน้าโรงงาน เป็นน้ำที่ผ่านการบริหารจัดการตามกฎมหายในโรงงาน และนำมา Reuse ในการล้างมันสำปะหลังก่อนจะเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป
“ทุกส่วนของมันสำปะหลังนำมาใช้หมุนเวียนและเพิ่มมูลค่าในระบบเศรษฐกิจภายในชุมชนและบริษัท ซึ่งวิวัฒนาการของการจัดการของเสียจากการผลิตของบริษัทได้มีการจัดการตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงนำนวัตกรรมมาช่วยแปลงสภาพจากของเสียเป็นรายได้”

กากมัน เปลือกมัน และตะกอนดิน ที่ติดมาจากมันสำปะหลัง ในอดีตจะจัดการโดยการนำกลับไปให้เกษตรกรใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน นำไปใช้ในการเพาะเห็ด นำไปหมักกับหญ้าเนเปียร์เพื่อเป็นอาหารสัตว์ แต่ปัจจุบันบริษัทได้ทำ R&D นำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงแมลงสำหรับนำไปสกัดเป็นโปรตีน และยังนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นทรายแมว โดยอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าบริษัทมีแผนที่จะเปิดตัวสินค้าทรายแมวจากกากมันสำปะหลังในชื่อของบริษัทอีกด้วย

  • บรรยายใต้ภาพ: น้ำทุกหยดที่ใช้ในโรงงาน ถูกบริหารจัดการน้ำตามมาตรฐานกฎหมาย และนำกลับมาใช้ในการผลิตอีกครั้ง จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการบำบัดน้ำ และนำน้ำกลับมาใช้ตั้งแต่หน้าโรงงาน โดยไม่มีน้ำเล็ดลอดออกจากโรงงาน
“ในส่วนของน้ำเสียจากกระบวนการล้างมัน และน้ำที่สกัดออกมาจากหัวมัน ที่เป็นปัญหาสำหรับของโรงงานอุตสาหกรรมในยุคแรก บริษัทได้มีการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนจากน้ำเสียมาใช้ใน 2 รูปแบบคือเพื่อให้ได้น้ำที่สะอาดตามมาตรฐานกลับมาใช้ล้างหัวมันต่อไป และอีกส่วนคือผลิตเป็นไบโอแก๊ส หรือ แก๊สชีวภาพไปใช้ทดแทนเชื้อเพลิงพลังงานความร้อนสำหรับอบแป้ง ซึ่งระบบการกำจัดน้ำเสียอย่างครบวงจรของบริษัทนั้นยังสามารถช่วยแก้ปัญหามลภาวะเรื่องกลิ่นตามไปด้วย นอกจากนี้บริษัทยังสามารถจำหน่ายและแบ่งปันจุลินทรีที่เกิดจากกระบวนการหมักก๊าซชีวภาพของบริษัทกลับคืนมาเป็นเป็นรายได้อีกจำนวนหนึ่ง”

มาถึงตัวสุดท้าย เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และนอกเหนือจากการทำไบโอแก๊สแล้ว บริษัทยังมีนโยบายการใช้พลังงานทดแทน โดยมีการทำโซลาฟาร์มขึ้นบนพื้นที่ของบริษัท ปัจจุบันนำมาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าทดแทนในเวลากลางวันได้ถึง 80% ของพลังงานที่โรงงานต้องใช้ และยังมีนโยบายปลูกต้นไม้ยืนต้นในทุกๆปี บริษัทยังได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวจากกระทรวงอุตสาหกรรม ในระดับ 3 ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะดำเนินงานให้ได้ถึงระดับ 4 ในปี 2567

  • บรรยายใต้ภาพ: ที่โรงงานใช้พลังงานทดแทนตั้งแต่ยุคแรก ใช้น้ำเสีย ผลิตเป็นไบโอแก๊ส ทดแทนเชื้อเพลิงพลังงานความร้อนสำหรับอบแป้ง และปัจจุบันเปิดพิ้นที่โรงงานทำโซล่าร์ ฟาร์มเพื่อผลิตพลังงานทดแทน 80% ใช้ในโรงงาน

ปัจจุบันบ้านโป่งทาโอปิก้า ใช้ปริมาณหัวมันสำปะหลังจากเกษตรกรประมาณ 600,000 ตัน ซึ่งมาจากเกษตรกรในเครือข่ายประมาณ 2 แสนกว่าตัน และมาจากตัวแทนที่ป้อนมันให้กับบริษัทประมาณ 3 แสนกว่าตัน ต้นทุนหัวมันอยู่ที่ประมาณ 3 บาทต่อกิโล บริษัทนำมาแปรรูปเป็นสินค้าใน 4 กลุ่ม

  • กลุ่มที่หนึ่งคือแป้งมันสำปะหลังแบบดั้งเดิม (Native starch) มีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 15% มูลค่าทางการตลาดของแป้งประเภทนี้อยู่ที่ ประมาณ 12 บาทต่อกิโลกรัม
  • กลุ่มที่สอง คือแป้งมันดัดแปรพื้นฐาน (Basic Modified Starch) มีปริมาณการผลิตประมาณ 41% มูลค่าทางการตลาดของแป้งประเภทนี้อยู่ที่ ประมาณ 25 บาทต่อกิโลกรัม
  • กลุ่มที่สาม คือ แป้งดัดแปรมูลค่าสูง (High Value Food Texture Solution) ที่นำไปใช้สำหรับการปรับเปลี่ยนและพัฒนาเนื้อสัมผัสในอาหารและเครื่องดื่ม มีปริมาณการผลิตประมาณ 41% มูลค่าทางการตลาดของแป้งประเภทนี้อยู่ที่ ประมาณ 50 บาทต่อกิโลกรัม
  • กลุ่มที่สี่ คือ แป้งดัดแปรที่นำไปใช้เป็นส่วนผสมของอาหารทางการแพทย์ (Nutrition) ซึ่งมีปริมาณการผลิตประมาณ 3% มูลค่าทางการตลาดของแป้งประเภทนี้อยู่ที่ ประมาณ 100-800 บาทต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับการนำไปทำอาหารทดแทนประเภทไหน

ทิศทางการผลิตของบ้านโป่งทาปิโอก้า คือขยายสัดส่วนการผลิตและการตลาด สินค้าในกลุ่ม High Value Food Texture Solution และ Nutrition ให้เพิ่มมากขึ้น โดยมีเป้าหมายว่าเป็นสินค้าหลักของบริษัทในอนาคต

อาจกล่าวได้ว่า BCG MODEL เป็นพื้นฐานในการดำเนินงานของบ้านโป่งทาปิโอก้าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และยังช่วยผลักดันให้บริษัทสามารถเดินตามแผนยุทธศาสตร์ทีต้องการคือเป็นบริษัทไทยที่ มุ่งสู่การเป็นTexture House Company ให้บริการ Texture Solution ผ่านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อยกระดับและแก้ปัญหาเนื้อสัมผัสในอุตสาหกรรมอาหารและและไม่ใช่อาหาร ได้อย่างยั่งยืนในระดับโลก
Learning Centre

วิธีแก้ปัญหาเม็ดไข่มุกในชานมแข็งเป็นไต

เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านจะมีประสบการณ์ดื่มชานมไข่มุกที่คล้าย ๆ กัน คือ เมื่อซื้อมาแล้วไม่ได้ดื่มทันที หรือหากนำไปแช่ตู้เย็นทิ้งไว้แล้วนำกลับมาดื่ม  เนื้อสัมผัสของเม็ดไข่มุกในชานมมักจะแข็งเป็นไต ไม่ก็เปื่อยยุ่ย ขึ้นอืด ไม่หลงเหลือความเด้งเหนียวหนึบหนับนุ่มละมุนลิ้นเหมือนปรุงเสร็จใหม่ ๆ  

“ชานมไข่มุก”  ที่อร่อยและถูกปากคนส่วนใหญ่ จะมีสองส่วนที่เสริมกันคือ น้ำชานม ที่กลมกล่อม หอม หวาน ละมุน และส่วนของตัวท็อปปิ้งเม็ดไข่มุกที่มีความเหนียวนุ่มหนึบหนับและยืดหยุ่น ซึ่งชานมไข่มุกแต่ละแบรนด์จะมีรสชาติและเนื้อสัมผัสแตกต่างกันไปตามคุณภาพและมาตรฐาน ของวัตถุดิบที่ร้านและแบรนด์ชานมไข่มุกนั้นๆ เลือกใช้  

เม็ดไข่มุก ในชานมไข่มุกนั้นทำมาจากแป้งที่ให้คุณสมบัติด้านความเหนียวเป็นสำคัญ เพื่อให้ได้เนื้อสัมผัส เฉพาะตัวของเม็ดไข่มุกคือ เมื่อเคี้ยวอยู่ในปาก จะสัมผัสได้ถึงความยืดหยุ่นคล้ายกับเยลลี่ และมาพร้อมกับความนุ่ม เหนียวหนึบ เด้งสู้ลิ้น ส่วนใหญ่จึงใช้แป้งมันสำปะหลัง มาเป็นวัตถุดิบหลักเพราะให้คุณสมบัติดังกล่าวและมีราคาไม่แพง

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยคุณสมบัติตามธรรมชาติของแป้งมันสำปะหลังคือ จะคืนตัวเมื่อสุกและเย็นลง  จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เม็ดไข่มุกที่ต้มสุกพร้อมใช้ มักเปลี่ยนสภาพเมื่อเก็บทิ้งไว้นานข้ามวัน รวมถึงเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วเมื่อถูกนำไปแช่อยู่ในน้ำแข็งหรือตู้เย็น  เพราะความเย็นจะไปเร่งกระบวนการคืนตัวของแป้ง (Retrogradation) ให้เร็วยิ่งขึ้น เป็นผลให้เนื้อสัมผัสของเม็ดไข่มุกแข็งขึ้น ความยืดหยุ่นความหนึบหนับหายไป หรือที่เรียกกันว่าเม็ดไข่มุกแข็งกระด้างเป็นไต เนื้อแน่นร่วน

วิธีการที่จะลดการคืนตัวของเม็ดไข่มุกเมื่อนำไปผสมในเครื่องดื่มเย็นหรือแช่อยู่ในน้ำแข็ง หรือสามารถเก็บเม็ดไข่มุกที่ต้มสุกแล้วไว้ในตู้เย็นได้หลายวันโดยมีเนื้อสัมผัสที่เหมือนต้มเสร็จใหม่ ต้องใช้ความรู้ในเชิงวัตถุดิบเข้ามาช่วย ได้แก่

วีธีการแรก นำส่วนผสมในกลุ่มไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloids) เช่น คาราจีแนน ( Carrageenan ) โลคัสบีนกัม (locust bean gum) หรืออัลจิเนต (alginate) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารให้ความคงตัวและให้ความหนืดและการเกิดเจลนุ่ม เข้าไปผสมกับแป้งที่ใช้ทำเม็ดไข่มุก ซึ่งส่วนผสมดังกล่าวจะเข้าไปแทรกในเนื้อแป้งมัน ช่วยปรับแก้ตัวแป้งไม่ให้คืนตัวหรือแข็งเป็นไต คงความนุ่มให้กับเม็ดไข่มุกหลังต้มสุกแล้ว

วิธีการที่สอง การเติมน้ำตาล หรือส่วนผสมในกลุ่มของสารให้ความหวาน เข้าไปในแป้ง น้ำตาลพิเศษเช่น ทรีฮาโลส (Trehalose) สามารถชะลอการคืนตัวของแป้งมันสำปะหลังซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดไข่มุกได้

วิธีการที่สาม คือใช้แป้งมันชนิดที่เรียกว่าแป้งดัดแปร (modified starch)  ทดแทนแป้งมันปกติบางส่วน ซึ่งแป้งประเภทดังกล่าว มีการพัฒนาคุณสมบัติของแป้ง ให้คงความยืดหยุ่น ยึดจับน้ำได้ดีและป้องกันการคืนตัวของแป้งหลังต้มสุกแล้ว  เม็ดไข่มุกจึงยังคงความนุ่ม เคี้ยวหนึบหนับ เมื่อแช่ในเครื่องดื่มเย็นหรือแช่อยู่ในน้ำแข็งได้เป็นระยะเวลานานขึ้นกว่าเดิม

วิธีการที่สี่ เมื่อต้มเม็ดไข่มุกสุกพร้อมใช้แล้ว นำไปแช่ในน้ำเชื่อม เพื่อให้น้ำเชื่อมแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไข่มุกและไปชะลอการคืนตัวของแป้งสุก  มีผลให้ลดการแข็งตัวของเม็ดไข่มุกเมื่อสัมผัสกับความเย็น

การตัดสินใจเลือกใช้วิธีการใดก็ขึ้นอยู่กับสูตรและความเฉพาะตัวของแต่ละร้านขายชานมไข่มุกแต่ละแห่ง

บทความโดย :

อาจารย์เชิดศักดิ์ คมนา  ที่ปรึกษาบริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า

พารณ สุขสิทธิ์   R&D บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า

[email protected]

News

สัมมนา “Wisdom Power of local Ingredients พลังวัตถุดิบท้องถิ่น สูตรลับสร้างธุรกิจยืนหนึ่งเหนือคู่แข่ง”

7 กันยายน 2566-              คุณปริญญ์ สุขสมิทธิ์ ผู้จัดการส่วนงานพัฒนาธุรกิจ บริษัทอุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่ง จำกัด หรือ บ้านโป่งทาปิโอก้า  เป็นวิทยากรในสัมมนา “Wisdom Power of local Ingredients พลังวัตถุดิบท้องถิ่น สูตรลับสร้างธุรกิจยืนหนึ่งเหนือคู่แข่ง” ณ อวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวชั่น เซ็นเตอร์ ร่วมบรรยายในหัวข้อ “จากแป้งมันสู่นวัตกรรมที่จะพลิกเกมส์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในอนาคต” แบ่งปันความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแป้งดัดแปร หรือ แป้งโมดิฟายด์ ( Modified starch) และการนำแป้งโมดิฟายด์ ไปปรับและประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาเนื้อสัมผัส ของอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ รักษาหรือเพิ่มความกรอบ รักษาความ นุ่ม ยืดหยุ่น ลดการคลายน้ำและการคืนตัว ตลอดจนคงคุณภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดและการเติบโตของกิจการ

งานสัมมนา “Wisdom Power of local Ingredients” นอกจากจะจัดขึ้นสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุดิบให้กับผู้ประกอบการในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงแล้ว ยังจัดขึ้นเพื่อต้องการสื่อสารและประชาสัมพันธ์การจัดงาน “Fi Asia 2023” (Food Ingredients Asia 2023: ฟู้ด อินกรีเดียนท์ส เอเชีย 2023) ซึ่งจัดขึ้นใน ระหว่างวันที่ 20 -22 กันยายน 2566 บริเวณฮอลล์ 1-4 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  ซึ่งบ้านโป่งทาปิโอก้า ก็จะนำ Carbohydrate-based ingredients Solution ของบริษัทมาจัดแสดงภายในงานนี้ด้วยเช่นกันโดยบูธของบริษัทจะอยู่ที่ “Stand: X90”

Banpong Tapioca Texture House
News

BCG Model อยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังสู่ Texture House Company

ข่าวจาก SD PERSPECTIVES LIFESTYLE SUSTAINABILITY (วันที่ 9 พฤษภาคม 2566)

Texture House Company ปรับ เนื้อสัมผัส ในอาหาร ยังไง

9 พฤษภาคม 2566…บริษัท บ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด บริษัทครอบครัวที่ Disrupt ตัวเองผ่านการทรานฟอร์มธุรกิจ พัฒนา Carbohydrate-based ingredients Solution ป้อน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม สร้างแบรนด์บ้านโป่งฟูจิซังผลิตภัณฑ์แป้งนวัตกรรมสำเร็จรูป เจาะตลาด SMEs และไลฟ์สไตล์ ซึ่งทุกส่วนของมันสำปะหลังนำมาใช้หมุนเวียนตามหลัก BCG และเพิ่มมูลค่าในระบบเศรษฐกิจภายในชุมชนและบางส่วนก็แปลงกลับมาเป็นรายได้ให้กับบริษัท

ประสิทธิ์ สุขสมิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ นายแพทย์สมิทธิ์ สุขสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายงานนวัตกรรม ปริญญ์ สุขสมิทธิ์ ผู้จัดการส่วนงานพัฒนาธุรกิจ บริษัทบ้านโบ่งทาปิโอก้า จำกัด ทายาทรุ่นที่ 3 และกิตติ สุขสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายซัพพลายเชน บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด ร่วมกันกล่าวถึง การ Disrupt ตัวเอง จากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง กลายเป็นโรงงานผลิตแป้งสำหรับ Food Texture Solution

“ในช่วงเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา บ้านโป่งทาปิโอก้า เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยยอดขายรวมในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาก สูงกว่าการดำเนินธุรกิจในช่วง 30 ปี แรกของบริษัท ซึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าของสินค้าที่ขายนั้นเพิ่มขึ้นจากการขายแป้งมันแบบดังเดิมหลายเท่าตัว ซึ่งในวันนี้แป้งมันแบบดั่งเดิมที่เคยเป็นสินค้าหลักของบริษัทมา กว่า 40 ปี มีมูลค่าเหลือเพียง 10% ของยอดขายรวมทั้งหมด ทำให้เรามีความมั่นใจว่าเดินมาถูกทางแล้ว”

หลังการ Disrupt ตัวเอง ปัจจุบันบ้านโป่งทาปิโอก้า มีพนักงานจำนวน 550 คน ในจำนวนนี้ เป็นพนักงานในส่วนของ R&D ประมาณ 45 คน มีโรงงาน 11 แห่ง มีลูกค้ากว่า 200 ราย กระจายอยู่ใน 21 ประเทศทั่วโลก

นอกจากนี้ ยังผลิตสินค้าเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าใน 3 กลุ่ม อุตสาหกรรมอาหาร พัฒนาเนื้อสัมผัสในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความนุ่ม แน่นเนื้อ กรอบ แข็ง เปราะ ฉ่ำ เนียน หยาบ เหนียว และ ความเป็นเส้นใย อุตสาหกรรมยา พัฒนาแป้งที่นำไปเป็นส่วนผสมในยารักษาโรค ตลอดจนนำไปใช้กลุ่ม Specialized Nutrition Need เช่น อาหารด้านสุขภาพ อาหารทดแทน รวมไปถึงอาหารทางการแพทย์ หรืออาหารเฉพาะสำหรับผู้ป่วยในกลุ่มต่างๆอาทิ ผู้ป่วยโรคไต เบาหวาน มะเร็ง ส่วนอุตสาหกรรมกระดาษ พัฒนาแป้งให้มีคุณสมบัติ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในขั้นตอนการขึ้นรูป อีกทั้งผลิตแป้งนวัตกรรมชั้นสูงของบ้านโป่งทาปิโอก้ามันสำปะหลังสายพันธุ์พิเศษเป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งลูเซนท์ (LUCENT) ทำให้ได้แป้งที่ผลิตออกมามีคุณสมบัติเทียบเท่ากับแป้งจากมันฝรั่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นวัตถุดิบราคาแพง

“ตลอดระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า เรายังให้ความสำคัญกับการผลิตที่คำนึงถึงความยั่งยืนตามหลักของ BCG Model ดังจะเห็นได้ว่าในกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลังของบริษัทไม่มีส่วนใดที่เหลือทิ้งเลย ทุกส่วนของมันสำปะหลังนำมาใช้หมุนเวียนและเพิ่มมูลค่าในระบบเศรษฐกิจภายในชุมชนและบางส่วนก็แปลงกลับมาเป็นรายได้ให้กับบริษัท เช่น มีการใช้ประโยชน์จากน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ ส่วนกากมันสำปะหลังขายเพื่อเป็นอาหารสัตว์ หรือแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรนำไปเพาะเห็ด รวมถึงนำไปวิจัยและพัฒนาเป็นสินค้าในกลุ่มไลฟ์สไตล์ เช่น ทรายแมวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยรวมแล้วในแต่ละปีบริษัทมีรายได้จากการนำของเหลือใช้ไปเพิ่มมูลค่าปีละประมาณ 2-3% ของยอดขาย รวมถึงยังมีรายรับจากการขายคาร์บอนเครดิตปีละกว่าหนึ่งล้านบาทมาระยะหนึ่งแล้ว”


ล่าสุด บริษัทในฐานะสมาชิกสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย เดินหน้าเรื่องคาร์บอน ฟุตพรินท์ พร้อมทั้งดูแลซัพพลายเชนในระบบที่จะต้องสอดคล้องกับ BCG ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ กลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายที่เป็นสมาชิกปลูกมันสายพันธุ์พิเศษและรับซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด 150% ผ่านรูปแบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง

ผู้บริหาร บ้านโป่งทาปิโอก้า กล่าวในท้ายที่สุด การตั้งสำนักงานในกรุงเทพฯ ของบริษัทในวันนี้ ก็เพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆที่จะทำร่วมกับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยสำนักงานในกรุงเทพของบริษัท จะเป็นศูนย์กลางการให้บริการ ตลอดจนเป็นที่ตั้งของแลปวิจัย สถานที่ทำเวิร์กช็อปท์ ระหว่างบริษัทกับลูกค้าหรือ ระหว่างบริษัทกับตัวแทนจำหน่ายที่มีอยู่ใน 20 ประเทศ เพื่อนำโจทย์หรือปัญหาเกี่ยวกับเนื้อสัมผัสมาศึกษาและมองหาโซลูชั่นในการแก้ปัญหาร่วมกัน

Banpong Tapioca BCG Model
News

บ้านโป่งทาปิโอก้า: สร้างโอกาสทางธุรกิจ ผ่านกระบวนการผลิต ภายใต้แนวคิด “BCG Model”

ข่าวจากนิตยสาร foodfocusthailand ฉบับเดือนมิถุนายน 2566

BCG Model, บ้านโป่ง BCG Model

Interviewed by:Editorial Team
Food Focus Thailand Magazine
[email protected]

https://www.foodfocusthailand.com/whats-in/banpong-tapioca-creating-business-opportunity-through-manufacturing-process-under-bcg-economy-model?fbclid=IwAR3h7CcxBk1vJRgaKg0dFzaQFCcgB4FxOc8uUFggxqviM6oyRaXvvMvpbuQ

สิ่งที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทยต้องปรับตัว คือ การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG พร้อมกันนี้ คุณกิตติ สุขสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายซัพพลายเชน บริษัท บ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด ได้กล่าวเสริมอีกว่า “หากผู้ประกอบการปรับตัวเข้าสู่โมเดลเศรษฐกิจนี้ได้ จะสามารถดำเนินธุรกิจโดยไม่ต้องกังวลถึงผลกระทบที่จะตามมา พร้อมเดินหน้าสู่การพัฒนาในด้านอื่นๆ เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมต่อไป”

บริษัท บ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด ให้ความสำคัญและดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด BCG Model มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำมันสำปะหลังซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้ในการแปรรูปโดยไม่มีส่วนเหลือทิ้ง เพราะทุกส่วนที่เหลือจากกระบวนการผลิตจะถูกนำมาใช้หมุนเวียนและเพิ่มมูลค่าในระบบเศรษฐกิจภายในชุมชน

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียในอุตสาหกรรม โดยการใช้ระบบไบโอแก๊สซึ่งนำน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตมาหมุนเวียนเพื่อใช้เป็นพลังงานสะอาดในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงงาน ส่วนแก๊สที่เหลือนำมาผลิตเป็นไอน้ำเพื่อใช้ในกระบวนการอบแป้ง ทำให้ไม่ต้องจัดซื้อเชื้อเพลิงจากภายนอก ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางการลดของเสียให้เหลือศูนย์ (Zero Waste) อีกด้วย

ณ วันนี้ หากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยยังไม่ปรับตัวเข้าสู่ BCG Model ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจไม่ใช่เพียงภาพลักษณ์และปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่อาจส่งผลกระทบถึงการถูกกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดการนำเข้าหรือการตั้งกำแพงภาษีที่เพิ่มขึ้น อันจะส่งผลกระทบระยะยาวถึงความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง

แต่หากเรามีการปรับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้แล้ว จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทยให้แข่งขันในตลาดโลกได้

News

ข่าวงานแถลงเปิดตัว “บ้านโป่งทาปิโอก้า” จาก TNN NEWS

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด แถลงข่าวการทรานฟอร์มธุรกิจ เปลี่ยนโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังอายุครึ่งศตวรรษ เป็น Texture House Company ให้บริการ Texture Solution เพื่อเข้าไปช่วยแก้ Pain Points ให้กับทุกอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเกี่ยวกับเนื้อสัมผัส เปิดตัวผลิตภัณฑ์แป้งนวัตกรรมสำเร็จรูป ภายใต้แบรนด์บ้านโป่งฟูจิซัง เจาะตลาด SMEs และไลฟ์สไตล์ เผยขับเคลื่อนธุรกิจบนพื้นฐานการวิจัยและพัฒนา นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อบริหารจัดการกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ภายใต้กระบวนการผลิตอย่างยั่งยืน พร้อมเปิดตัวสำนักงานในกรุงเทพฯ
News

ข่าวงานแถลงเปิดตัว “บ้านโป่งทาปิโอก้า” ในรายการเมืองไทยน่ารู้ TV5

เมืองไทยน่ารู้ TV5 : บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด แถลงข่าวการทรานฟอร์มธุรกิจ เปลี่ยนโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังอายุครึ่งศตวรรษ เป็น Texture House Company เปิดตัวผลิตภัณฑ์แป้งนวัตกรรมสำเร็จรูป ภายใต้แบรนด์บ้านโป่งฟูจิซัง เจาะตลาด SMEs และไลฟ์สไตล์ เผยขับเคลื่อนธุรกิจบนพื้นฐานการวิจัยและพัฒนา นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อบริหารจัดการกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ภายใต้กระบวนการผลิตอย่างยั่งยืน
News

นวัตกรรมยกระดับ ‘มันสำปะหลัง’ จากโซลูชั่นอาหาร สู่ ‘ตลาดสุขภาพ’

ข่าวจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 พฤษภาคม 2566

https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1067049

บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด ทรานฟอร์มธุรกิจ จากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง สู่ Texture House Company ให้บริการ Texture Solution ช่วยแก้โจทย์ให้กับทุกอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเกี่ยวกับเนื้อสัมผัส ต่อยอดสู่อุตสหากรรมสุขภาพ รับสังคมสูงวัย

Key Point :

  • ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารคิดเป็น 1 ส่วน 4 ของ GDP อีกทั้ง ส่งออกมันสำปะหลังกว่า 1.5 แสนล้านบาท
  • บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด ซึ่งมีการทรานฟอร์มธุรกิจมากว่า 6 ปี จากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง สู่ Texture House Company ส่งผลให้ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาเติบโตอย่างก้าวกระโดด
  • รายได้จาก Texture Solution ของบ้านโป่งทาปิโอก้า คิดเป็นสัดส่วนกว่า 40%  ต่อยอดสู่ ‘อุตสาหกรรมสุขภาพ’ โดยนำ แป้งมันสำปะหลัง ผ่านกระบวนการพัฒนา สู่ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ

ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และเป็น 1 ในไม่กี่ประเทศของโลกที่ผลิตอาหารมากกว่าบริโภค อีกทั้ง มีการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารกว่า 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี โดยอันดับต้นๆ ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดหวาน ทุเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยยังส่งออกมันสำปะหลังกว่า 1.5 แสนล้านบาท เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมันสำปะหลังกว่า 9.5 หมื่นล้านบาท

ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารคิดเป็น 1 ส่วน 4 ของ GDP แรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารกว่า 2 ใน 3 ของแรงงานประเทศ ราว 12 ล้านคน จาก 18 ล้านคน อุตสาหกรรมอาหารจึงถือเป็นโอกาสและข้อได้เปรียบของไทย แต่การยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมจะช่วยส่งเสริมให้มูลค่าของผลผลิต อีกทั้ง การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ยังส่งผลให้ตลาด Nutrition ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด นับเป็นหนึ่งในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจมาอย่างยางนานกว่า 50 ปี ปัจจุบันเข้าสู่ยุคเจนเนอเรชั่นที่ 3 และมีการทรานฟอร์มธุรกิจมาแล้วกว่า 6 ปี จากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง สู่ Texture House Company ให้บริการ Texture Solution ช่วยแก้โจทย์ให้กับทุกอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเกี่ยวกับเนื้อสัมผัส โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพราะการที่อาหารอร่อย ไม่ใช่แค่รสชาติเท่านั้น แต่รสสัมผัสก็เป็นสิ่งที่สำคัญ

เรียกได้ว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา บ้านโป่งทาปิโอก้า มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ผลจากการนำนวัตกรรมมาพัฒนาแป้งมันธรรมดา เพิ่มมูลค่าตอบโจทย์ลูกค้าด้วย Texture Solution จนปัจจุบัน แป้งมันแบบดั้งเดิมที่เคยเป็นสินค้าหลักของบริษัทมากกว่า 40 ปี มีมูลค่าเหลือเพียง 10% ของยอดขายรวมทั้งหมด ขณะที่ Texture Solution มีสัดส่วนกว่า 40% ของยอดขายในปี 2565

เดินหน้าอุตสาหกรรมสุขภาพ

นพ.สมิทธ์ สุขสมิทธ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายงานนวัตกรรม บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด กล่าวในงานแถลงข่าว ทรานฟอร์มธุรกิจ สู่ ‘บ้านโป่งทาปิโอก้า’ โดยระบุว่า ผลิตภัณฑ์ในบริษัทแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร โดยเน้นพัฒนาเนื้อสัมผัสในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความนุ่ม แน่น เนื้อ กรอบ แข็ง เปราะ ฉ่ำ เนียน หยาบ เหนียว และความเป็นเส้นใย เป็นต้น

ถัดมา คือ การต่อยอดสู่การพัฒนาโดยการลงทุนนวัตกรรมใน ‘อุตสาหกรรมสุขภาพ’ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยนำแป้งมันสำปะหลัง ผ่านกระบวนการพัฒนา สู่ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ เพราะโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงต้องการอาหารทางการแพทย์ในการตอบโจทย์ผู้ป่วย และคาร์โบไฮเดรตเป็น 1 ใน 3 สารอาหารหลักที่ทุกคนต้องการนอกจากไขมันและโปรตีน อีกทั้ง ลูกค้าส่วนหนึ่งนำไปใช้ในวัตถุดิบสำหรับอาหารทางการแพทย์ และอาหารเสริม

“คาร์โบไฮเดรต จะย่อยเป็นน้ำตาล เป็นแหล่งพลังงาน ดังนั้น เราจึงนำนวัตกรรมมาช่วยให้คาร์โบไฮเดรตให้พลังงานตามที่ต้องการ เช่น ดัดแปลงนวัตกรรมให้ย่อยคาร์โบไฮเดรตช้าลงสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ร่างกายจะได้คาร์โบไฮเดรตแต่ไม่ย่อยเป็นน้ำตาล และสามารถควบคุมเบาหวาน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทอสอบในมนุษย์ รวมถึงการพัฒนาอาหารทางการแพทย์เฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มโรคไต มะเร็ง ฯลฯ ซึ่งจะเป็นเสต็ปต่อไป” 

นพ.สมิทธ์ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่ทำให้เห็นโอกาสในอุตสาหกรรมสุขภาพ มองว่าการทำให้คาร์โบไฮเดรตมีมูลค่าสูงขึ้น คือ การทำในเรื่องของ Nutrition หากเป็นสังคมผู้สูงอายุเขาไม่สามารถทานแป้งผ่านกระบวนการแปรรูปได้ เช่น แปรรูปเป็นขนมปัง ขนมทอด ต้องทานในเครื่องดื่ม หรือ อาหารสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถกลืนได้ ซึ่งก็สามารถนำเอานวัตกรรมที่เราได้พัฒนามาผลิตได้

“ปัจจุบัน ประเทศไทยมีบริษัทที่ทำด้าน Nutrition ในตลาดเป็นบริษัทต่างชาติเกือบทั้งหมด และใช้วัตถุดิบบางส่วนมาจากเมืองไทย ดังนั้น มองว่าเราสามารถทำได้ เพราะเรามีนวัตกรรมและเครือข่าย อีกทั้ง กระบวนการผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับ Nutrition ยังมีการควบคุมคุณภาพ ผ่านมาตรฐาน อย. และมั่นใจได้ว่าไม่เกิดเชื้อในกระบวนการผลิต มีระบบล้างอัตโนมัติเมื่อผลิตเสร็จ และเข้มงวดมากขึ้น”

สุดท้าย คือ การให้บริการลูกค้ากลุ่มที่สาม คือ อุตสาหกรรมกระดาษ โดยพัฒนาแป้งให้มีคุณสมบัติเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในขั้นตอนการขึ้นรูป เพิ่มความแข็งแรง และการเคลือบผิวหน้ากระดาษ เป็นต้น

ตั้งเป้ารายได้ 4,000 ล้าน ใน 4 ปี

อนึ่ง บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด ก่อตั้งในปี 1973 เพื่อแปรรูปมันสำปะหลังส่งขายทั้งในและต่างประเทศ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทมีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังในไทยที่มีมากกว่า 80 บริษัท และมีการดิสรัปตนเองเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา โดยตัดสินใจลงทุนกว่า 800 ล้านบาท ในเทคโนโลยีและสร้างโรงงานใหม่เพื่อเริ่มต้นผลิตแป้งสำหรับ Texture Solution โดยในปี 2565 บริษัทมีรายได้กว่า 1,763 โตเฉลี่ย 15.18% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งเป้ารายได้ปีนี้อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาทในปี 2570

ปัจจุบัน มีพนักงานกว่า 550 คน ในจำนวนนี้เป็นพนักงานในส่วนของ R&D ราว 45 คน มีโรงงาน 11 แห่ง ลูกค้ากว่า 200 ราย กระจายใน 21 ประเทศทั่วโลก ใช้มันสำปะหลังมากกว่า 2 แสนตันต่อปี โดยล่าสุด กับการปักหมุดสำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อรองรับการทำงานร่วมกันกับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางให้บริการ แล็บวิจัย สถานที่เวิร์กช็อป ระหว่างบริษัทกับลูกค้า หรือ ระหว่างบริษัทกับตัวแทนจำหน่ายที่มีใน 20 ประเทศ

เกษตรยั่งยืนด้วย BCG Model

“กิตติ สุขสมิทธ์” รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายซัพพลายเชน บริษัทบ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด กล่าวเสริมว่า นอกจากการวิจัยนวัตกรรมแล้ว บริษัท ยังให้ความสำคัญกับตัววัตถุดิบที่นำมาผลิต ปัจจุบันช้มันสำปะหลังสายพันธุ์พิเศษ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งลูเซนท์ (LUCENT) ชนิดต่างๆ ซึ่งเมื่อนำมาผนวกกับวิจัยของบ้านโป่งทาปิโอก้า ทำให้ได้แป้งที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับแป้งจากมันฝรั่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นวัตถุดิบราคาแพง

ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้เกษตรกรในเครือข่ายปลูกมันสายพันธุ์พิเศษและรับซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด 150 % ผ่านรูปแบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง โดยเกษตรกรที่เข้ามาเป็นสมาชิกภายใต้เครือข่ายดังกล่าว จะได้รับการดูแลจากบริษัทแบบครบวงจร ตั้งแต่การเพาะท่อนพันธุ์ ให้กับเกษตรกรเพื่อนำไปใช้ในการปลูก ให้คำปรึกษา กระทั่งเก็บเกี่ยว ขนส่ง ผลผลิตเข้าสู่โรงงาน

ตลอดระยะเวลาในการทำธุรกิจ บ้านโป่งทาปิโอก้า ยังให้ความสำคัญกับการผลิตที่คำนึงถึงความยั่งยืนตามหลักของ BCG Model โดยกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลังของบริษัทไม่มีส่วนใดที่เหลือทิ้ง ทุกส่วนนำมาใช้หมุนเวียนและเพิ่มมูลค่าในระบบเศรษฐกิจภายในชุมชนและบางส่วนแปลงกลับมาเป็นรายได้ให้กับบริษัท เช่น การใช้ประโยชน์จากน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ

ส่วนกากมันสำปะหลังนำไปขายเพื่อเป็นอาหารสัตว์ หรือแจกจ่ายเกษตรกรนำไปเพาะเห็ด รวมถึงนำไปวิจัยและพัฒนาเป็นสินค้าในกลุ่มไลฟ์สไตล์ เช่น ทรายแมวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยรวมแล้วในแต่ละปีบริษัทมีรายได้จากการนำของเหลือใช้ไปเพิ่มมูลค่าปีละประมาณ 2-3 % ของยอดขาย รวมถึงยังมีรายรับจากการขายคาร์บอนเครดิตปีละกว่าหนึ่งล้านบาท

Learning Centre, News

ภารกิจทายาทรุ่น 3 “บ้านโป่งทาปิโอก้า” สร้างมูลค่าเพิ่มจาก “แป้งมัน”

ข่าวจาก Brandage วันที่ 24 พฤษภาคม 2566

https://www.brandage.com/article/35290

หนึ่งปัญหาใหญ่ของ SMEs โดยเฉพาะที่เป็นธุรกิจครอบครัวก็คือการเข้ามารับช่วงต่อกิจการของทายาท ซึ่งที่ผ่านมาก็มีกรณีศึกษาทั้งรูปแบบที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลวให้เห็นอยู่เสมอ จนมีคำพูดที่บอกกันปากต่อปากว่า ธุรกิจครอบครัวจะไปต่อได้อย่างยั่งยืนได้หรือไม่ต้องดูที่ “ทายาทรุ่นที่ 3”

กรณีศึกษาของ “บ้านโป่งทาปิโอก้า” ที่เพิ่งจะผ่านสเตทนี้มาได้ จึงถือเป็นตัวอย่างการปรับตัวองค์กรให้เข้ากับยุคสมัยและสภาพการแข่งขันได้เป็นอย่างดี

บ้านโป่งทาปิโอก้า คือบริษัทที่เกิดขึ้นจากการทรานส์ฟอร์มธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัว คือบริษัท อุตสาห กรรมแป้งมันบ้านโป่ง จำกัด ที่ทำธุรกิจแปรรูปมันสำปะหลังเป็นแป้งมันสำปะหลังขายทั้งในและต่างประเทศ มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1973

ถ้าดูกันตามเนื้อผ้าแป้งมันสำปะหลังนี้จัดอยู่ในกลุ่มสินค้า Commodity Product หรือสินค้า ชั่ง ตวง วัด ที่เป็นสินค้าพื้นฐานที่สร้างมูลค่าได้ยาก

ท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังในประเทศไทยที่มีมากกว่า 80 บริษัท เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ทางผู้บริหารของอุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่ง จึงมีการหารือกันเกี่ยวกับวิสัย ทัศน์และทิศทางการเติบโตของบริษัทในอนาคตว่าจะส่งต่อให้กับทายาทรุ่นต่อไปอย่างไร ซึ่งก็ได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่าอยากจะเติบโตมากกว่านี้

ดังนั้นอุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่งจะคิดและทำแบบเดิมๆ เหมือนที่ผ่านมาไม่ได้ ถ้าต้องการหลุดพ้นจาก Commodity Product ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการ Disrupt ตัวเองสู่การเป็น Texture House & Ingradient Company

บ้านโป่งทาปิโอก้า จึงถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว ด้วยการเปลี่ยนมายด์เซตใหม่จากเดิมที่โรงงานเป็นหัวใจของบริษัทมาเป็นการใช้นวัตกรรมเป็นหัวใจของบริษัท โดยการวางเป้าหมายให้เป็น Food Tech

นายแพทย์สมิทธิ์ สุขสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายงานนวัตกรรม บริษัท บ้านโป่งทาปิโอก้า อธิบายถึงความแตกต่างในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตรอย่างมันสำปะหลังว่า แป้งมันสำปะหลังทั่วไปสามารถเพิ่มมูลค่าจากหัวมันดิบกิโลกรัมละ 3 บาท มาเป็นแป้งมัน (Native Starch) กิโลกรัมละ 12 บาท ถ้าพัฒนาสินค้าเป็นแป้งมันแปรรูป (Basis Modified Starch) จะสามารถจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 25 บาท แต่ถ้าพัฒนาเป็น Hi Value Food Texture Solution ราคาขายจะขยับขึ้นเป็น 50 บาทต่อกิโลกรัม และสุดท้ายถ้าพัฒนาไปทำเป็น Nutrition หรือ Lifestyle ราคาขายต่อกิโลกรัมจะสูงถึง 100 – 800 บาท ต่างกันไปตามชนิดของสินค้า

ที่ผ่านมา บ้านโป่งทาปิโอก้า มีการลงทุนมากกว่า 800 ล้านบาทในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันบ้านโป่งทาปิโอก้า มีพนักงานจำนวน 550 คน ในจำนวนนี้ เป็นพนักงานในส่วนของ R&D ประมาณ 45 คน มีโรงงาน 11 แห่ง มีลูกค้ากว่า 200 ราย กระจายอยู่ใน 21 ประเทศทั่วโลก โดยยอดขายรวมในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาสูงกว่าการดำเนินธุรกิจในช่วง 30 ปีแรกของบริษัท ซึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าของสินค้าที่ขายนั้นเพิ่มขึ้นจากการขายแป้งมันแบบดั้งเดิม

ถ้าดูสัดส่วนรายได้ของบ้านโป่งทาปิโอก้าจะพบว่า แป้งมันแบบดั้งเดิมที่เคยเป็นสินค้าหลักของบริษัทมากว่า 40 ปี ปัจจุบันมีสัดส่วนตัวเลขเหลือเพียง 17% ของยอดขายรวมทั้งหมด ขณะที่สินค้าในกลุ่ม Basic Modified มีสัดส่วนแบ่งขยับขึ้นไปอยู่ที่ 40.6% และสินค้ากลุ่ม Texture Solution มียอดขายถึง 40.7% และที่เหลืออีก 1.7% จะมาจาก Nutrition/Lifestyle

“คำว่าอาหารอร่อย ส่วนใหญ่เราจะพูดถึงรสชาติ แต่จริงๆ มีอีกสิ่งสำคัญเรื่องหนึ่ง คือเนื้อสัมผัส หรือ Texture เช่น กรอบ เนื้อเนียน เช่น หมูทอดทงคัตสึที่ดีต้องกรอบ เนื้อเนียน เราทำวิจัยร่วมกับบริษัทญี่ปุ่น ถ้าลองกินร้านที่ราคาสูงหน่อย เนื้อหมูกับแป้งขนมปังจะติดกัน 100% แต่ถ้าร้านย่อมเยาลงมาหน่อยจะมีช่องว่างระหว่างเนื้อหมูกับแป้งเยอะ นี่คือตัวอย่างของเนื้อสัมผัสที่ไม่เหมือน กัน

Texture Solution เราพัฒนาจากแป้งพื้นฐานมาเป็นแป้งพิเศษ เราไม่ได้ทำรสชาติ เราส่งแค่วัตถุดิบให้ตามที่พาร์ทเนอร์ต้องการ เพื่อนำไปผลิตอาหารที่มีความเหนียว ข้น ฯลฯ ตามความต้องการ เช่น ซอสมะเขือเทศของไทยของเทแล้วไหล แต่อินโดนีเซียต้องข้นๆ ต้องใช้ช้อนตัก หรือจะเป็นโยเกิร์ตที่เมืองนอกต้องตักเป็นช้อน ส่วนของเมืองไทยจะชอบเนื้อเนียนๆ ความชอบของคนในแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน เราทำหน้าที่ค้นคว้าเพื่อสร้างความแตกต่างให้ลูกค้าของเรา”

ปัจจุบัน บ้านโป่งทาปิโอก้า ผลิตสินค้าเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าใน 3 กลุ่มตลาด ได้แก่ กลุ่มแรกอุตสาหกรรมอาหาร (Food Industry) โดยการพัฒนาเนื้อสัมผัสในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความนุ่ม แน่นเนื้อ กรอบ แข็ง เปราะ ฉ่ำ เนียน หยาบ เหนียว และความเป็นเส้นใย เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 คือ อุตสาหกรรมยา (Pharma Industry) ได้แก่ การพัฒนาแป้งที่นำไปเป็นส่วนผสมในยารักษาโรค ตลอดจนนำไปใช้กลุ่ม Specialized Nutrition Need อย่างเช่น อาหารด้านสุขภาพ อาหารทดแทน รวมไปถึงอาหารทางการแพทย์ หรืออาหารเฉพาะสำหรับผู้ป่วยในกลุ่มต่างๆ อาทิ ผู้ป่วยโรคไต เบาหวาน มะเร็ง ฯลฯ

กลุ่มที่ 3 คือ อุตสาหกรรมกระดาษ (Paper Industry) โดยพัฒนาแป้งให้มีคุณสมบัติ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในขั้นตอนการขึ้นรูป เพิ่มความแข็งแรง และการเคลือบผิวหน้ากระดาษ เป็นต้น

การผลิตแป้งนวัตกรรมชั้นสูงของบ้านโป่งทาปิโอก้านั้น นอกจากการทุ่มเทพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่องในห้องแล็บแล้ว บริษัทก็ยังให้ความสำคัญต่อตัววัตถุดิบที่นำมาผลิตไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะวัตถุดิบที่ดีจะช่วยเสริมให้บริษัทสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ปัจจุบันบริษัทใช้มันสำปะหลังสายพันธุ์พิเศษมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งลูเซนท์ (LUCENT) ชนิดต่างๆ ซึ่งจุดเด่นของแป้งมันสายพันธุ์พิเศษนี้เมื่อมาบวกกับการวิจัยของบ้านโป่งทาปิโอก้า ทำให้ได้แป้งที่ผลิตออกมามีคุณสมบัติเทียบเท่ากับแป้งจากมันฝรั่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นวัตถุดิบราคาแพง

ปัจจุบัน บ้านโป่งทาปิโอก้ามีการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรในเครือข่ายปลูกมันสายพันธุ์พิเศษและรับซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด 150% ผ่านรูปแบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง โดยเกษตรกรที่เข้ามาเป็นสมาชิกภายใต้เครือ ข่ายดังกล่าวจะได้รับการดูแลจากบริษัทอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่การเพาะท่อนพันธุ์ให้กับเกษตรกรเพื่อนำไปใช้ในการปลูก ระหว่างทางก็จะมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยดูและให้คำปรึกษา จนกระทั่งถึงช่วงของการเก็บเกี่ยวขนส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงาน

ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าวนอกจากจะเข้ามาช่วยลดภาระของเกษตรกรแล้วยังจะช่วยให้บริษัทมีโอกาสได้เข้ามาควบคุมคุณภาพการเพาะปลูกได้โดยตรง และยังสามารถนำมาใช้ในการวางแผนการผลิตภายในบริษัทได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ บริษัทยังได้เริ่มมีการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบทางการเกษตรในกลุ่มธัญพืช เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแป้งที่มีมูลค่าสูง อย่างเช่น ถั่วเขียว ถั่วขาว และข้าว เป็นต้น

ปริญญ์ สุขสมิทธิ์ ผู้จัดการส่วนงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท บ้านโป่งทาปิโอก้า จำกัด ทายาทรุ่นที่ 3 ของบริษัทกล่าวเสริมว่า สิ่งที่บ้านโป่งทาปิโอก้าต้องการสื่อสารกับตลาดและส่งมอบให้กับลูกค้า ไม่ใช่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแปรรูปมันสำปะหลัง แต่เป็นการนำเสนอองค์ความรู้ด้านโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรตที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อสัมผัสให้กับผลิตภัณฑ์ของลูกค้า โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

การตั้งสำนักงานในกรุงเทพฯ ของบริษัทก็เพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำร่วมกับลูกค้าทั้งในและต่าง ประเทศ โดยสำนักงานในกรุงเทพฯ ของบริษัทจะเป็นศูนย์กลางการให้บริการ ตลอดจนเป็นที่ตั้งของแล็บวิจัย สถานที่ทำ Workshop ระหว่างบริษัทกับลูกค้า หรือระหว่างบริษัทกับตัวแทนจำหน่ายที่มีอยู่ใน 20 ประเทศ เพื่อนำโจทย์หรือปัญหาเกี่ยวกับเนื้อสัมผัสมาศึกษาและมองหาโซลูชั่นในการแก้ปัญหาร่วมกัน 

“ธุรกิจครอบครัว เรามักจะบอกว่าจะมีปัญหาตอนรุ่นที่ 3 ผมรับรู้เรื่องนี้ดี ผมต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง ผมโชคดีที่มีทายาทรุ่น 2 ที่เปิดรับไอเดียใหม่ๆ การเปลี่ยนตัวเองที่ทำมา 6-7 ปีมันเริ่มมีอะไรให้เห็นในวันนี้ สิ่งที่เราพยายามทำมาตลอด คือการเปลี่ยนแปลงจากบริษัทผู้ผลิตแป้งมันสำปะ หลังมาเป็น Texture Solution

เราพยายามอัพเกรดองค์ความรู้ ตั้งแต่โครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ทำให้ทีมงานมีความรู้เรื่องนี้ เราต้องเริ่มต้นด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม เราพยายามทำทีมงานให้มีความรู้ และทำงานร่วมกับลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เราเริ่มจากการคุยกับลูกค้าเพื่อหาความต้องการร้อยกว่าราย เพื่อหาความต้องการ แล้วเราก็มาหาทางออกให้

ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ บ้านโป่งทาปิโอก้า ยังได้พัฒนาแป้งนวัตกรรมสำเร็จรูปที่เข้าไปตอบโจทย์ผู้ประกอบการ SMEs และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ ภายใต้แบรนด์บ้านโป่งฟูจิซัง ซึ่งสินค้าในรูปแบบดัง กล่าวนอกจากเพื่อการทดลองและเปิดตลาดใหม่ๆ แล้ว ยังใช้เป็นสื่อกลางในการให้ความรู้กับตลาดและเป็นสะพานเชื่อมให้กลุ่มเป้าหมาย หรือธุรกิจที่กำลังมองหาโซลูชั่นที่จะเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องเนื้อสัมผัส สามารถเข้าถึงบริษัทได้ง่ายขึ้น

1 2
About Exponent

Exponent is a modern business theme, that lets you build stunning high performance websites using a fully visual interface. Start with any of the demos below or build one on your own.

Get Started
Privacy Settings
We use cookies to enhance your experience while using our website. If you are using our Services via a browser you can restrict, block or remove cookies through your web browser settings. We also use content and scripts from third parties that may use tracking technologies. You can selectively provide your consent below to allow such third party embeds. For complete information about the cookies we use, data we collect and how we process them, please check our Privacy Policy
Youtube
Consent to display content from Youtube
Vimeo
Consent to display content from Vimeo
Google Maps
Consent to display content from Google
Spotify
Consent to display content from Spotify
Sound Cloud
Consent to display content from Sound
Get a Quote